ความจริงมีอยู่ว่า ที่มาขนมหวานไทยคลายร้อนดับกระหายของลอดช่องสิงคโปร์นั้นมาจาก “โรงหนัง” สมัยที่เมืองไทยยังมีโรงภาพยนตร์ในตำนาน อย่าง คิง,ควีน,แกรนด์,เฉลิมเขต,เฉลิมไทย,พาราเมาต์,กรุงเกษม นั้น โรงหนังอีกแห่งหนึ่งที่เป็นที่นิยมไม่น้อยก็คือ โรงหนังสิงคโปร์บนถนนเยาวราช ที่ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นโรงหนังเฉลิมบุรี
Thai Theater - Yaowarat area (thaiworldview.com)
ในประเทศไทย มีการเรียกลอดช่องอีกประเภทหนึ่งว่า ลอดช่องสิงคโปร์ โดยมีที่มาจากชื่อร้าน สิงคโปร์โภชนา บริเวณแยกหมอมี ถนนเจริญกรุง เยาวราช กรุงเทพมหานคร “สิงคโปร์โภชนา” ร้านอาหารที่มีอายุยาวนานกว่า 60 ปี ทำให้หนุ่มๆ สาวๆ ยุคนั้นมักจะมาแฮงค์เอาท์กัน แล้วแวะดูหนังที่โรงหนังสิงคโปร์ ก็มักจะรองท้องด้วยลอดช่องเจ้าดังนี่นั่นเอง และจากคำว่า ลอดช่องหน้าโรงหนังสิงคโปร์ ก็เลยกลายเป็น “ลอดช่องสิงคโปร์”
รากศัพท์ ในอินโดนีเซียเชื่อว่า เจ็นดล มีความเกี่ยวข้องกับคำ jendol ในภาษาชวา ภาษาซุนดา และภาษาอินโดนีเซีย หมายถึง "โหนก" หรือ "โป่ง" ซึ่งมีความหมายโดยนัยหมายถึงเยลลี่ที่มีรูปร่างคล้ายตัวหนอน ในเวียดนาม เรียกว่า บั๊ญหลต (bánh lọt) ซึ่งเป็นส่วนผสมของขนมที่ชื่อเจ่หรือเจ่บาเหม่า
ส่วนผสมทั่วไปของลอดช่องคือกะทิ แป้งปั้นเป็นรูปแท่งใส่สีเขียว โดยปกติมาจากใบเตย น้ำแข็งปั่นและน้ำตาลมะพร้าว ส่วนผสมเพิ่มอื่น ๆ ได้แก่ ถั่วแดง ข้าวเหนียว เฉาก๊วย ในซุนดา ลอดช่องสิงคโปร์เป็นขนมทำจากแป้งหรือสาคูปั้นเป็นแท่ง กินกับกะทิและน้ำเชื่อมจากน้ำตาลของต้นหมาก ไม่ใส่น้ำแข็ง ในภาษาชวา เจ็นดล หมายถึงส่วนที่เป็นแป้งสีเขียวเท่านั้น ถ้านำ เจ็นดล มารวมกับน้ำตาลมะพร้าวและกะทิ จะเรียก ดาเว็ต ดาเว็ตที่นิยมมากที่สุดคือ เอ็ซดาเว็ต ในชวากลาง ด้วยอิทธิพลจากสิงคโปร์และอาหารตะวันตก ทำให้มีลอดช่องรูปแบบแปลก ๆ เช่น กินกับไอศกรีมวานิลลาหรือทุเรียน
ลอดช่องเป็นขนมที่นิยมทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนิยมขายทั้งในศูนย์อาหาร ข้างถนน และที่อื่น ๆ ลอดช่องสิงคโปร์หรือดาเว็ตดั้งเดิมไม่กินกับน้ำแข็ง แต่เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาทำให้มีเจ็นดลเย็นกินกับน้ำแข็ง (เอ็ซเซอรัต) เป็นไปได้ว่าในแต่ละประเทศมีสูตรเฉพาะของตนเอง โดยเฉพาะเมืองเก่าของมาเลเซีย เช่น มะละกา ปีนัง และกัวลาลัมเปอร์
อ้างอิง: วิกิพีเดีย youtube
วันที่ 14 เมษายน 2567