จากข้อมูลการตรวจยืนยันสายพันธุ์ของเชื้อซาลโมเนลลาทางห้องปฏิบัติการของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในระหว่างเดือนมกราคม ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ได้รับตัวอย่างเชื้อบริสุทธิ์ที่ตรวจจากผู้ป่วย อาหาร และสิ่งแวดล้อม จำนวน 96 ราย
พบว่า การปนเปื้อนเชื้อซาลโมเนลาในประเทศไทย การตรวจยืนยันเชื้อ Non-typhoidal Salmonella (NTS)เชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella spp.)กลุ่มไม่ใช่ไทฟอยด์ เชื้อที่ก่อให้โรคระบบทางเดินอาหารหรือโรคอาหารเป็นพิษที่เรียกว่าโรคซาลโมเนลโลสิส Salmonellosis โดยทั่วไปมีการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และอุจจาระร่วง พบได้โดยการรับประทานที่ปนเปื้อนของเชื้อนี้เข้าไป ความรุนแรงของอาการป่วย จะแตกต่างไปตามชนิดและปริมาณเชื้อที่บริโภค ผู้ติดเชื้อที่มีอาการไม่รุนแรงไม่จำเป็นต้องใช้ยาต้านจุลชีพ เพราะอาการจะหายไปเองภายใน7วัน แต่ในผู้ป่วยในกลุ่มที่เรียกว่า YOPIได้แก่ผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็ก(Young)ผู้ป่วยที่สูงอายุ(old),ผู้ป่วยตั้งครรภ์ (Pregnant)และผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางภูมิคุ้มกัน (Immune deficient) อาจมีอาการรุนแรงหรือติดเชื้อในกระแสเลือดและเสียชีวิตได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ร่วมกับ ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ทราบสายพันธุ์และรูปแบบการดื้อยาต้านจุลชีพ เพื่อเป็นแนวทางการรักษา
จากข้อมูลการตรวจยืนยันสายพันธุ์ของเชื้อซาลโมเนลลาทางห้องปฏิบัติการ ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในระหว่างเดือนมกราคม ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ได้รับตัวอย่างเชื้อบริสุทธิ์ที่ตรวจจากผู้ป่วย อาหาร และสิ่งแวดล้อม จำนวน 96 ตัวอย่าง จำแนกได้เป็น 33 ซีโรวาร์ (Serovar) โดยพบว่า สายพันธุ์ของซาลโมเนลลาที่พบมากสุดสามลำดับแรก คือ Salmonella Amsterdam, Salmonella Brunei และ Salmonella Weltevreden คิดเป็นร้อยละ 12.2, 11.2 และ 10.2 ตามลำดับ โดยพบในวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์ น้ำอุปโภค และผักสลัด ตามลำดับ นอกจากนี้มีรายงานการตรวจพบเชื้อซาลโมเนลลา ในผลิตภัณฑ์นำเข้า ณ.ด่านตรวจสินค้าของสหภาพยุโรป พบในขนมฮาลวา (Halvah) จากสาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เป็นสายพันธุ์ Salmonella Amsterdam พบในกุ้งขาวแวนนาไม (Pacific white shrimp) และในเห็ดหูหนูดำแห้ง (Dired Mu-Err mushrooms) จากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เป็น Salmonella Brunei และ Salmonella Weltevreden ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบในประเทศไทย เช่นกัน
จากข้อมูลดังกล่าว บอกถึงสถานการณ์การปนเปื้อนของเชื้อซาลโมเนลลา ในอาหารที่พบได้ตลอดห่วงโซ่อาหารทั้งในอาหาร และน้ำ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ สำหรับอาหารที่รับประทานโดยไม่ผ่านการปรุงสุกด้วยความร้อน มีความเสี่ยงการปนเปื้อนสูง ดังนั้นผู้บริโภคควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกด้วยความร้อน หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ควรเลือกซื้อจากแหล่งที่สะอาด และมีการล้างทำความสะอาด เพื่อลด ความเสี่ยงจากการปนเปื้อนเชื้อ
โดย นายแพทย์บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ วันที่ 6 ตุลาคม 2566