โรคอัลไซเมอร์เกิดจากการที่สมองมีการสร้างโปรตีนเบต้าอะไมลอยด์ และเทาโปรตีนที่เป็นพิษกับเซลล์สมองโปรตีนเหล่านี้เกิดขึ้นทีละน้อยในสมองของผู้ที่จะมีอาการสมองเสื่อม ตั้งแต่อายุ 40-50 ปี และมีปริมาณมากขึ้นจนทำให้เกิดความเสียหายกับเนื้อสมองเมื่อเป็นผู้สูงวัย ซึ่งมักจะแสดงอาการหลังอายุ 65 ปี ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนว่าทำไมจึงเกิดเฉพาะกับบางบุคคล
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคอัลไซเมอร์ แบ่งปัจจัย คือปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น เพศ ซึ่งเพศหญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้มากกว่าเพศชาย และผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคนี้จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจปรับเปลี่ยนได้ ผู้ที่มีระดับการศึกษาน้อยมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาสูง ภาวะหูตึง เพราะประสาทหูที่เสื่อมทำให้สมองถูกกระตุ้นลดลง
เช่น การเกิดภยันตรายรุนแรงกับสมอง เช่น เกิดอุบัติเหตุทำให้สมองได้รับการกระทบกระเทือน สลบหรือไม่รู้ตัว
มีความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง และไม่ได้รับการรักษาควบคุมให้ดี ภาวะอ้วนในวัยกลางคนซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงเมื่อมีอายุมากขึ้น
ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงวัย การขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เก็บตัวลำพัง อยู่นิ่ง ๆ เฉย ๆ ไม่ออกกำลังกาย
การใช้สารเสพติด การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สัมผัสมลพิษทางอากาศ เช่น PM 2.5 ในปริมาณสูง การไม่ได้ทำงานหรือไม่ได้ทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมอง
การปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงควรเริ่มต้นล่วงหน้าเป็นสิบ ๆ ปีก่อนที่จะเข้าสู่การเป็นผู้สูงวัย ข้อมูล ณ วันที่ : 23 กันยายน 2566