Welcome to Thai nursing time

คุณจิราภรณ์ พราหมณ์คล้ำ 062 619 7893 , คุณอมรรัตน์ ทัดดอกไม้ : 084 635 5414 6:00 AM - 10:00 PM (Mon-Fri)

“ศปป.5 กอ.รมน.” จัดกิจกรรมนำคณะสื่อมวลชน ในโครงการ สื่อมวลชนสัมพันธ์ เสริมสร้างคุณภาพชีวิต ในพื้นที่ จ.นราธิวาส “ประจำปี 2567”

จำนวนผู้เข้าชม : 111 ครั้ง

ศปป.ถ กอ. รมน. นำโดย พลโท สุรเทพ หนูแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ได้จัดกิจกรรมนำคณะสื่อมวลชน ในโครงการสื่อมวลชนสัมพันธ์ เสริมสร้างคุณภาพชีวิต ประจำปี 2567 หรือ สื่อมวลชนส่วนกลาง เข้าเยี่ยมชม “มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์” โดยมีจุดประสงค์ เพื่อต้องการให้ “ช่วยประชาสัมพันธ์เรื่องการศึกษาของนักศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เป็นพื้นฐานของชีวิต และจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่  เมื่อวันที่ 14-16 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา

โดย พลโท สุรเทพ กล่าวว่า การนำคณะสื่อมวลชนเดินทางมาในวันนี้ เป็นโอกาสที่ดีที่จะได้นำเสนอความสำคัญของการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้กับประชาชนนอกพื้นที่ได้รับทราบ ปัจจุบันนี้ ทางมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (มนร.) ได้ผลักดันหลักสูตรต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย และได้รับความสนใจและสนับสนุนจากภาคเอกชนและมหาวิทยาลัยต่างชาติ เช่น ประเทศจีน เพื่อพัฒนาการศึกษาของเยาวชนและสร้างอาชีพให้กับคนในพื้นที่ ทั้งยังส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษาของคนในพื้นที่ ซึ่งจะนำไปสู่ความมั่นคงในด้านการใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพ สร้างรายได้ ทำให้เศรษฐกิจในพื้นที่ดีขึ้น ทำให้นอกพื้นที่และต่างประเทศได้เห็นว่า พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความสงบ มีความสุข และสันติสุขจะเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้อย่างแน่นอน

นอกจากนี้ การศึกษายังมีบทบาทสำคัญในการก่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่ง มนร. เป็นหน่วยงานหนึ่ง ที่ กอ.รมน. พยายามส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาการศึกษา เนื่องจาก ถ้าคนในพื้นที่ได้รับการศึกษาที่ถูกต้อง มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ได้รับการชี้แจงที่ถูกต้อง และมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจน รวมถึงเห็นภาพที่เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม เช่น การมาเรียนแล้วจบไปตรงความต้องการของตลาด มีอาชีพรองรับ ความยั่งยืนก็จะเกิดขึ้นทันที

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปรีชา สะแลแม อธิการบดีมหาวิทยาลัย นราธิวาสราชนครินทร์ กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันการดำเนินการของมหาวิทยาลัยเป็นไปตามเจตนารมณ์ดั้งเดิมตั้งแต่ก่อตั้ง คือการสร้างโอกาสให้กับเยาวชน และคนในพื้นที่ ได้มีโอกาสเข้าสู่ระบบการศึกษาให้มากที่สุด ซึ่งที่ผ่านมา เราได้สร้างโอกาสให้คนในพื้นที่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษา ทั้งในระดับอุดมศึกษาและต่ำกว่าปริญญา รวมถึงมองว่าในการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น หลักสูตรที่เปิดสอนจะต้องเป็นหลักสูตรสมัยใหม่ ตอบสนองความต้องการของยุคปัจจุบัน เช่น ช่างเทคนิคอากาศยาน ช่างเทคนิคด้านระบบราง ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV แพทย์ พยาบาล วิศวกร ทั้งนี้ เมื่อมีหลักสูตรที่ทันสมัยแล้ว ก็จะต้องมีอาชีพที่รองรับหลังจบการศึกษาด้วย เมื่อมีอาชีพ ก็จะเกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เกิดความมั่นคงในครอบครัว ซึ่งบุคคลเหล่านี้ก็จะเติบโตไปสนับสนุนคนรุ่นต่อ ๆ ไป และครอบครัว ให้มีโอกาสเข้าสู่ระบบการศึกษามากขึ้น ได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ หรือ มนร. เป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์อย่างเต็มรูปแบบ มีทั้งคณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงคณะทางสังคมอย่างศิลปศาสตร์ วิทยาการจัดการ และเกษตร ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองนราธิวาส  เปิดสอนปริญญาตรีทางวิชาชีพ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต เพียงสาขาเดียว รับเข้าศึกษาเฉพาะนักศึกษาไทย ภาษาที่ใช้ คือ ภาษาไทย โดยมีความร่วมมือเพื่อผลิตบัณฑิตแพทย์กับสถาบันหลายแห่งทั้งในมหาวิทยาลัย และสถาบันต่าง ๆ ภายในและต่างประเทศ  มีสโมสรนักศึกษาแพทย์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จัดค่ายบอมอทอฝัน หรือ #MORNARACamp ค่ายค้นหาความฝันและสัมผัสชีวิตจริงของ “หมอนรา”  เพื่อให้น้อง ๆ ได้เรียนรู้ทักษะต่าง ๆ และประสบการณ์ชีวิตการเป็นนักศึกษาแพทย์ โดยเปิดรับสมัครน้อง ๆ นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายให้เข้าร่วมกิจกรรม


 

กิจกรรมคณะผู้บริหาร และคณาจารย์ เข้าตรวจเยี่ยมนักศึกษาแพทย์และติดตามบัณฑิตแพทย์  เพื่อรวบรวมข้อมูลและนำวิเคราะห์ประกอบการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตตามเกณฑ์มาตรฐานสากล ที่สำคัญนักศึกษาทุกคนต้องเรียนวิชาสันติศึกษา พร้อมทั้งเรียนรู้และเข้าใจบริบทความแตกต่างหลากหลายในพื้นที่อย่างแท้จริงจะนำพาพื้นที่ชายแดนใต้สู่ความทันสมัย และสันติสุขอย่างยั่งยืน! บนความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยคือ บัณฑิตอยู่ในพื้นที่ได้ ทำงานได้ในสังคมพหุวัฒนธรรม ดั่งคำขวัญที่ว่าคณะแพทยศาสตร์ของ มนร คณะแพทยศาสตร์แห่งสังคมพหุวัฒนธรรม หรือ A medical school in a multicultural society

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 พลโท สุรเทพ หนูแก้ว พร้อมคณะสื่อมวงลชนส่วนกลาง เดินทางไปศูนย์ให้คำปรึกษาเสริมพลังสตรี, คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส เพื่อรับฟังปัญหาจากกลุ่มสตรีชาวมุสลิมและแนวทางการช่วยเหลือ โดยนางซารีนา เจ๊ะเลาะ ประธานกลุ่มผู้นำมุสลีมะห์ และประธานศูนย์ให้คำปรึกษาเสริมพลังสตรีจังหวัดนราธิวาส ให้การต้อนรับพร้อมกล่าวถึง บทบาทของศูนย์ฯในการช่วยเหลือสตรีชาวมุสลิมที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวว่า ตั้งแต่ก่อตั้งศูนย์มาเป็นเวลากว่า 20 ปี พบว่า ยังมีความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปัจจุบันมีสตรีชาวมุสลิมที่ประสบปัญหาต้องช่วยเหลือกว่า 3,000 เคส เพราะสตรีที่มีปัญหาเหล่านี้ จะไม่กล้าไปปรึกษากับผู้นำชุมชนหรือผู้นำทางศาสนาซึ่งเป็นผู้ชาย ดังนั้น บทบาทในการให้คำปรึกษาในด้านนี้ จึงอยู่ที่ภรรยาของคณะกรรมการอิสลาม ซึ่งในปัจจุบัน ได้พยายามวางแนวทางแก้ไขปัญหาให้ครอบคลุมมากขึ้น เช่น การสร้างเครือข่ายศูนย์ให้คำปรึกษาเสริมพลังสตรีไปยังระดับชุมชนกว่า 22 ศูนย์ ครอบคลุมพื้นที่ 13 อำเภอของจังหวัดนราธิวาส เพื่อช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด และลดค่าใช้จ่ายให้สตรีที่ประสบปัญหา ไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้ามาที่ศูนย์หลัก รวมถึงจะต้องมีการจัดที่พักพิงให้สตรีที่ถูกทำร้ายได้หลบจากปัญหาดังกล่าว มีการจัดค่ายครอบครัวให้สมาชิกครอบครัวทั้งสามี ภรรยา และบุตร ได้สะท้อนปัญหาให้กันและกันรับฟัง จัดฝึกอบรมอาชีพให้สตรีเพื่อสร้างรายได้ สร้างคุณค่าให้สตรีที่ประสบปัญหา พร้อมยืนยันว่า ศูนย์ฯมีพื้นที่ปลอดภัยให้สตรีที่ประสบปัญหา และสามารถช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ โดยข้อมูลของผู้ขอความช่วยเหลือจะได้รับการดูและรักษาข้อมูลส่วนตัวเป็นอย่างดี 


ด้าน พลโท สุรเทพ กล่าวว่า การดำเนินการของศูนย์ให้คำปรึกษาเสริมพลังสตรีจังหวัดนราธิวาส สอดคล้องกับภารกิจของ ศปป.5 ที่ต้องการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเริ่มจากระดับพื้นฐานคือความรุนแรงในครอบครัว หากปัญหาความรุนแรงในครอบครัวลดลง ปัญหาความรุนแรงในชุมชนและในจังหวัด ก็จะลดตามไปด้วย ซึ่งจะเป็นก้าวแรกในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้


 

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2567  ที่ศูนย์ศิลปาชีพฯ คณะเดินทางเข้าเยี่ยมชมเครื่องปั้นดินเผา ภายในพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ชมการผลิตเครื่องปั้นดินเผาและเซรามิก ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระพันปี ที่นำภาพวาดลายท้องถิ่นภาคใต้มาวาดไว้บนเครื่องปั้นดินเผาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นการส่งเสริมอาชีพให้กับคนในพื้นที่ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ให้ดีขึ้น

link ข้อมูลศูนย์ศิลปาชีพ

https://thailandtourismdirectory.go.th/attraction/2507 

ทางคณะเข้าเยี่ยมชม โรงเรียน มนร. วิทยานุสรณ์

Recent Posts