Welcome to Thai nursing time

คุณจิราภรณ์ พราหมณ์คล้ำ 062 619 7893 , คุณอมรรัตน์ ทัดดอกไม้ : 084 635 5414 6:00 AM - 10:00 PM (Mon-Fri)

แพทยสภา เตรียมเสริมอาวุธแพทย์ด้าน Cyber แถลงความร่วมมือ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และบริษัทซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดงานประชุมวิชาการ “ชวนหมอรู้”

จำนวนผู้เข้าชม : 451 ครั้ง

เมื่อวันพุธที่ 7 ธันวาคม2565 แพทยสภาเตรียมเสริมอาวุธแพทย์ด้านCyberแถลงความร่วมมือ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)และบริษัทซิสโก้ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดงานประชุมวิชาการ “ชวนหมอรู้”  นำร่อง ให้ความรู้สมาชิกแพทย์ตระหนักรู้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารด้าน Cyber ในยุคดิจิทัล ผ่านทางระบบ Online และ Facebook live แพทยสภา ณ.ห้องประชุมวชิรเวช ชั้น 14 อาคารมหิตลาธิเบศร กระทรวงสาธารณสุข  โดย ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภาพร้อมด้วย นายแพทย์ธนกฤต จินตวรผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา แถลงความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างแพทยสภา สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) นำโดย ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และบริษัทซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด นำโดย คุณทวีวัฒน์ จันทรเสโน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด

ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์  นายกแพทยสภา  กล่าวว่า ปัจจุบัน เทคโนโลยีดิจิทัลสารสนเทศมีการพัฒนา และ ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีผู้ใช้งาน Social media เป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดประโยชน์ หรือก่อให้เกิดโทษต่อ  ผู้ใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการแพทย์ หน่วยงานด้านสาธารณสุข จึงต้องให้ความสำคัญต่อการสร้างความมั่นคง ความ ปลอดภัยทางไซเบอร์ การถูกคุกคามหรือการโจมตีทางระบบสารสนเทศแพทยสภา ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมการประพฤติของแพทย์ ให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ รวมไป ถึงการจัดการฝึกอบรม ส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญเหล่านี้ แพทยสภา  สถาบันมหิตลาธิเบศร ได้ประสานความร่วมมือกับสถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล (องค์การมหาชน)  สถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล และบริษัทซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) เพื่อร่วมกันสร้างความเข้มแข็งด้านวิชาการเทคโนโลยีดิจิทัลแก่บุคลากรด้านสาธารณสุขของประเทศ โดยเฉพาะการยกระดับทักษะดิจิทัล และพัฒนาองค์ความรู้ในการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่หน่วยงานด้านสาธารณสุขของไทยกำลังประสบ และต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน จุดเริ่มต้นขอความร่วมมือวันนี้ ก็คือ งานประชุมวิชาการ “ชวนหมอรู้”ครั้งที่ 6 ตอน “Awareness ด้าน Cyber แพทย์จะรับมือได้อย่างไร” ที่ได้รับความกรุณาจากทางสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล   สถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล และบริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด มาเป็นวิทยากรในงานวันนี้ ต้องขอบคุณทุกท่าน

ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กล่าวว่า DGA/ ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในการยกระดับทักษะดิจิทัลให้แก่ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐทุกระดับ เพื่อให้พร้อมสำหรับการปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลโดยเริ่มจากความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ที่เป็นแกนหลักในเรื่องนี้ ประกอบด้วย



  • สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.)/ ซึ่งได้กำหนด มาตรฐานทักษะด้านดิจิทัลสำหรับบุคลากรภาครัฐกลุ่มต่าง ๆ

  • สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.)/ มีบทบาทในการรับรองหลักสูตรที่จะใช้ในการยกระดับทักษะดิจิทัล/ แก่บุคลากรภาครัฐ

  • สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)/ มีหน้าที่ในการพัฒนาเครื่องมือสำหรับ/วัดประเมินทักษะความรู้ของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ/ ตามมาตรฐานทักษะที่สำนักงาน กพ. กำหนด

  • DGA โดยการดำเนินงานของสถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล/ หรือ TDGA มีบทบาทสำคัญใน 2 ด้าน คือ 1) จัดทำหลักสูตรกลางเพื่อยกระดับทักษะดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐ/ ที่สอดคล้องตามมาตรฐานทักษะที่สำนักงาน ก.พ.กำหนด/ และ 2) จัดการฝึกอบรมหลักสูตรเพื่อการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล/ รวมถึงหลักสูตรกลางที่จัดทำขึ้นทั้งนี้ จากบทบาทภารกิจของสถาบัน TDGA  ในด้านการพัฒนาบุคลากรภาครัฐทั้งระบบเพียงหน่วยงานเดียวนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ ช่วยสนับสนุนให้การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของบุคลากร เป็นไปในทิศทางและมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งในปี 2564 ที่ผ่านมาสถาบัน TDGA ได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาทั้งรัฐและเอกชนจัดทำหลักสูตรกลางด้านดิจิทัล โดยร่วมกันจัดฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปัจจุบันมีสถาบันเครือข่ายความร่วมมือแล้วถึง 54 แห่งซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศนอกจากการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้กับบุคลากรภาครัฐแล้ว สิ่งที่จำเป็นสำหรับการปรับเปลี่ยนองค์กรภาครัฐให้เป็นองค์กรดิจิทัลคือการมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และเครื่องมือสำหรับการทำงานในยุคดิจิทัล DGA จึงได้เชิญชวนบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก มาเป็นพลังสำคัญในการ up skill  reskill บุคลากรภาครัฐร่วมกับสถาบัน TDGA จึงเป็นที่มาของโครงการTech for Gov Gen I โดยภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการใน Gen I ประกอบด้วย 7 บริษัท ได้แก่


     1. บริษัท พาโล อัลโต เน็ตเวิร์ค (ประเทศไทย) และอินโดจีน


      2. บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด


     3. บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด


     4. บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด


      5. บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด


      6. บริษัท ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) จํากัด และ


       7. บริษัท Facebook Thailand By Meta 


ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ภายใต้โครงการ “Tech for Gov Gen II”โดยในปีนี้ได้ขยายความร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ กับ บริษัท Google (ประเทศไทย) และบริษัทอื่น ๆ นอกจากนี้ DGA ยังได้ปรับปรุงแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มบุคลากรภาครัฐที่อยู่ใน Focus area ตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และกลุ่มบุคลากรภาครัฐหน่วยงานอื่น ๆ โดยหนึ่งใน Focus area ที่สำคัญ คือ บุคลากรด้านสาธารณสุข ซึ่งต้องดูแลระบบสารสนเทศต่าง ๆ มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการแพทย์ จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บุคลากรทางการแพทย์ หรือผู้เกี่ยวข้อง มีความรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามประเภทต่าง ๆ ตลอดจนแนวทางป้องกันแก้ไขเมื่อเกิดเหตุได้อย่างถูกต้อง สำหรับความร่วมมือที่เกิดขึ้นในวันนี้ จะเป็นก้าวสำคัญในการเสริมความแกร่งให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ให้มีทักษะด้านดิจิทัล รู้เท่าทันภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้วางแผนรับมือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเอง/ และองค์กรได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

คุณทวีวัฒน์ จันทรเสโน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า รัฐบาลและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีการเสนอแนวทางและให้การสนับสนุนการนำเอาดิจิทัลมาเป็นตัวช่วยเร่งการพัฒนาประเทศในหลาย ๆ ด้าน รวมถึงการบริการประชาชนในด้านสาธารณสุข ให้มีความทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว เราทราบกันดีว่าระบบดิจิทัล มีประโยชน์มากมายมหาศาล แต่ในขณะเดียวกัน ภัยคุกคามทางไซเบอร์ก็มีจำนวนมากขึ้น เก่งขึ้น ซับซ้อนขึ้น ตามการพัฒนาของเทคโนโลยีทางด้านนี้ ภัยคุกคามรูปแบบและวิธีการใหม่ ๆ เกิดขึ้นทุกวัน ซึ่งการเตรียมตัวและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์นี้ เป็นเรื่องที่สำคัญที่ทุกคนควรให้ความใส่ใจ โดยเฉพาะแพทย์ ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่เพิ่มขึ้น และในขณะเดียวกัน แพทย์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้เพิ่มเติมและเข้าใจเทคโนโลยีในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม รวมถึงการตระหนักรู้ด้านเทคโนโลยี หรือกระบวนการวิธีปฏิบัติ เพื่อปกป้องข้อมูลจากการถูกโจมตี โดยเฉพาะยุคที่มี Social Media ซึ่งเผยแพร่ได้อย่างรวดเร็ว และกว้างขวางในอนาคต เราเชื่อว่าการแบ่งปันข้อมูลต่าง ๆ ของทางการแพทย์ หรือข้อมูลประวัติคนไข้ จะมีการเปิดเผยมากขึ้น การแบ่งปันที่มากขึ้น เพื่อให้เกิดการบริการทางการแพทย์ที่กว้างขวางและสามารถดูแลประชาชนได้ทันท่วงทีมากขึ้น ในขณะเดียวกันภัยคุกคามก็จะมีมากขึ้นตามลำดับไปด้วย

ในงานประชุมวิชาการครั้งนี้ยังมี เสวนา เรื่อง “Cyber อย่างไรในยุคดิจิทัล“ โดยมีผู็ร่วมเสวนา นายแพทย์ธนกฤต จิตวร  คุณไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)(สพร.) คุณบูรฉัตร ประเสริฐสำราญ CyberSecurity Sales Specialist บริษัท ซิสโก้ ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย)จำกัด


นายแพทย์ธนกฤต จิตวร ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา กล่าวนำว่า การประชุมครั้งนี้ 2 หัวข้อ ในการประชุมเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นเพราะ แพทยสภามีผู้นำทางการพัฒนาระบบดิจิตอลในระดับประเทศ โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)(สพร.) มาร่วมการขับเคลื่อนให้ประเทศเราพัฒนาระบบไปสู่เป้าหมายของประเทศ  Thailand 4.0 ได้อย่างสมบูรณ์  การเสวนาครั้งนี้ คุณไอรดา เหลืองวิไลรองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)(สพร.) คุณบูรฉัตร ประเสริฐสำราญ CyberSecurity Sales Specialist บริษัท ซิสโก้ ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด แบ่งปันประสบการณ์ที่ตนได้ประสบการได้รับ SMS ต่าง ๆ ซึ่งปัจุบันเกิดข่าวมีมิจฉาชีพหลอกลวงกดรับข้อความที่ไม่เป็นจริง เกิดความเสียหายหลายด้าน และวิธีที่ตนปฏบัติ กรณีได้รับ SMS แจ้งเตือนอายุกรรมธรรม์ประกันชีวิต  สิ่งแรกต้องปฏิบิติเมื่อได้รับ SMS "โทรติดต่อสำนักงานใหญ่" เพื่อได้รับการยืนยันของข้อมูล SMS นั้นว่าจริงหรือไม่  ในส่วนของ คุณบูรฉัตร ประเสริฐสำราญ   Sales Specialist บริษัท ซิสโก้ ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ให้แนวทางป้องกันปัญหาภัยคุกคามสำคัญคือควรมีของระบบความปลอดภัยในเรื่อง(CyberSecurity ) ปัญหาสำคัญหนึ่งที่ปัจจุบันมีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากระบบ IT บางหน่วยงานมีความซับซ้อนเกิดปัญหาด้าน Malware ทำอันตรายต่อระบบ ไม่สารถมาคนหาต้นสายของปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นได้หรือสถานพยาบาลบางหน่วยยังไม่มีระบบการป้องภัยคุกคามควรดำเนินการก่อนเกิดปัญหา ยกตัวอย่างเช่นรักษาระบบ Stratedic Information Systems (SIS) ของกลุ่มงานพยาบาลในโรงพยาบาล เมื่อต้องเข้าดูประวัติผู้ป่วย  ควรมีการยืนยันตัวตนและที่ลงลึกกว่าเดิม โดยส่วนตัวเองนั้นจะตั้งสันฐานว่าความเสี่ยงจากบุคคลที่สามารถเกิดภัยคุกคามจากบผู้ไม่ประสงค์ดีนั้นเกิดได้เสมอ และยกตัวอย่างแนวทางป้องกันเพื่อป้องการเข้าดูของประวัติผู้ป่วยของพยาบาลที่ปฏิบัติหน้าที่ในเวลาทำงาน ควรเพิ่มระบบยืนยันตัวตน เช่น แสกนใบหน้าของบู้ที่เข้าระบบ SIS

 "หมอชวนรู้”  หัวข้อ Awareness ด้าน Cyber แพทย์จะรับมือได้อย่างไร  ซึ่งเป็นตอนที่ 6  ข้อมูลสาระสำคัญเป็นประโยชน์แก่สาธารณะชน ให้รู้ทันปัญหาภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในระบบดิจิตอลอย่างมาก  ทั้งนี้ต้องขอขอบพระคุณ พล.อ.ท.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา หนึ่งในคณะผู้บริหารแพทยสภา ที่สนับสนุนและขับเคลื่อนเกิดงานประชุม หมอชวนรู้อย่างต่อเนื่อง


สาระดี ๆ ดู "หมอชวนรู้" ตอนต่อไปได้ที่แพทยสภา :: The Medical Council of Thailandhttps://www.tmc.or.th 

Recent Posts