Welcome to Thai nursing time
วันที่ 26 กรกฎาคม 2567:โรงพยาบาลเกาะช้าง สำนักสาธารณสุขจังหวัดตราดสัง และ SKYLLER ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้บริการอากาศยานไร้คนขับ ร่วมทดสอบการใช้โดรนต้นแบบ เพื่อนำพัฒนาบริการทางการแพทย์ด้านการขนส่งส่งยาและเวชภัณฑ์ให้ประชาชนที่เจ็บป่วยในพื้นที่ห่างไกลและเข้าถึงยาได้ง่าย นำโดยนายแพทย์ธนะวัฒน์ วงศ์ผัน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตราด นายแพทย์ภาณุวัฒน์ โสภณเลิศพงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเกาะช้าง และแพทย์หญิงเมธาพร ลิ่มวรพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแหลมงอบ บริษัท สไกลเลอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด หรือ SKYLLER ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้บริการอากาศยานไร้คนขับ (UAV) หรือ โดรน ในกลุ่มบริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ ARV
นายแพทย์ธนะวัฒน์ วงศ์ผัน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตราด กล่าวว่า "กรมการแพทย์และสำนักสาธารณสุขจังหวัดตราด มุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในการยกระดับการบริการทางการแพทย์ของไทยให้มีประสิทธิภาพและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ความร่วมมือกับ SKYLLER ครั้งนี้ เป็นการนำเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับมาประยุกต์ใช้ในระบบบริการทางการแพทย์ ซึ่งมีศักยภาพที่จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนยาและเวชภัณฑ์ในพื้นที่ห่างไกล และช่วยให้ประชาชนในทุกพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ"
คุณสินธู ศตวิริยะ บริษัท สไกลเลอร์ โซลูชั่นส์ จำกัดวิสัยทัศน์ของ SKYLLER ที่มุ่งเน้นในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมโดรน ไม่ใช่เพียงเพื่อตอบสนองความต้องการในภาคธุรกิจ แต่ยังรวมไปถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมในฐานะตัวแทนตัวแทน SKYLLER รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสร่วมมือในโครงการนำร่องในครั้งนี้ และได้มีส่วนร่วมทดสอบและพัฒนาโครงการนำร่องดังกล่าวประสบความสำเร็จไปด้วยดี และหวังว่าความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการร่วมมือในอนาคต"
"ในปัจจุบัน การเข้าถึงยาและเวชภัณฑ์ในพื้นที่ห่างไกลของไทยยังคงมีความท้าทายอยู่มาก เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนานกว่าพื้นที่ปกติ ถึงแม้มีระบบการขนส่งทางถนนหรือระบบการขนส่งทางน้ำแล้วก็ตาม อีกทั้งการขนส่งยาและเวชภัณฑ์มีความซับซ้อนมากกว่าการขนส่งสินค้าทั่วไป เนื่องด้วยยาและเวชภัณฑ์บางชนิดมีความไวต่ออุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง แรงสั่นสะเทือน และต้องเก็บรักษาอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน ยิ่งไปกว่านั้นจำนวนผู้ให้บริการขนส่งยาและเวชภัณฑ์ต่าง ๆ ยังคงมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของกลุ่มหน่วยงานทางการแพทย์และประชาชน
จากข้อจำกัดต่าง ๆ จึงเกิดความร่วมมือในครั้งนี้ขึ้น เพื่อพัฒนา-ทดสอบการใช้อากาศยานไร้คนขับที่สามารถบินได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และปลอดภัย ในการขนส่งเวชภัณฑ์ต่าง ๆ พร้อมมุ่งสร้างโมเดลต้นแบบสำหรับพื้นที่อื่นทั่วประเทศต่อไป ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถมีส่วนช่วยอย่างมากต่อวงการการแพทย์ไทย ช่วยลดช่องว่างในการเข้าถึงทางการแพทย์ของกลุ่มพื้นที่ภูเขาและเกาะต่าง ๆ รวมมากกว่า 1,400 แห่ง อีกทั้งยังสามารถต่อยอดไปสู่ภาวะที่ยากลำบากอื่น ๆ เช่น ภาวะน้ำท่วมฉุกเฉินหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ
นายแพทย์ภาณุวัฒน์ โสภณเลิศพงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเกาะช้าง กล่าวเพิ่มเติมว่า"การริเริ่มทดลองใช้โดรนในครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อยกระดับการบริการทางการแพทย์ของไทย สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการสร้างสังคมไทยที่ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียม"