Welcome to Thai nursing time
จากข้อมูลสถิติการใช้บุหรี่ไฟฟ้าพบข้อมูลว่าประชากรช่วง 15-24 ปีกว่า 38% เข้าถึงและมีโอกาสสูบบุหรี่ไฟฟ้า และพบเยาวชนในสังคมไทยเข้าสู่บุหรี่ไฟฟ้าด้วยอัตราการเติบโตสูงถึง 5.3 เท่าในช่วงระยะเวลา 7 ปี สสส. และภาคีเครือข่ายรณรงค์ลดการไม่สูบบุหรี่ได้ทำการสำรวจ พูดคุยกับกลุ่มเป้าหมายในสังคม 1. ตัวผู้สูบพอต หรือบุหรี่ไฟฟ้า 2. ประชาชนผู้ใกล้ชิดตัวผู้สูบที่มีผลต่อการเลิกหรือสูบพอตของกลุ่มเป้าหมาย 3. ประชาชนในสังคมทั่วไป พบว่าประชาชนมีความรู้ความเข้าใจถึงอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าที่ไม่ถูกต้อง ยังมีความเข้าใจว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อย อันตรายน้อยและควบคุมได้ หรือในบางรายเข้าใจผิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีอันตราย สืบเนื่องมาจาก อุตสาหกรรมบุหรี่ ได้ให้ข้อมูลอันตรายไม่ครบถ้วน หรือไม่ได้บอกประชาชนถึงอันตราย รวบถึงสร้างงานวิจัยหลายตัวที่ให้ข้อมูลไม่ครบด้าน และนำมาสื่อสารว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยให้คนในโลกและสังคมเข้าใจผิด นอกจากข้อมูลเชิงสถิติที่น่าตกใจ ทั้งในเชิงกลุ่มเป้าหมาย และสถิติการป่วยที่น่าตกใจ ยังมีข้อมูลล่าสุด ถึง อันตรายในบุหรี่ไฟฟ้า ที่มีอนุภาคที่เล็กมาก เล็กกว่าขนาด PM2.5 มาพร้อมสารพิษละอองจากบุหรี่ไฟฟ้าสามารถเข้าสู่อวัยวะต่างของเราได้ใน 20-30 วินาที
‘เฟิร์ส’ ช่างแอร์วัย 35 ปี เจ้าของร้านเฟิสท์แอร์บ้าน บอกเล่าสิ่งที่พบเจอจากการล้างแอร์ในห้องที่มีบุหรี่ไฟฟ้า "บุหรี่ไฟฟ้า เป็นตัวทำให้แอร์ตันและล้างไม่ออก เหนียว ๆ พอล้างได้ แต่ถ้ารอจนเเข็ง มันจะแข็งเหมือนพลาสติก กำจัดยาก "https://creativehealthcampaign.thaihealth.or.th/
นี่คือปัญหาที่มักพบเป็นประจำ และยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากในปัจจุบัน กลุ่มผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งช่วงอายุที่ช่างแอร์อย่างเขาสังเกตเห็นคือ 18 ปี และ 20 – 35 ปี “ถ้าเราสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้วไม่ได้เรียกช่างแอร์ไปล้าง น่าจะไม่ต่างกับเรากำลังสูบบุหรี่ ซึ่งทำให้ปอดพังอยู่ดี เพราะทุกครั้งที่เปิดแอร์ แอร์จะมีความชื้นตลอดเวลา คราบต่าง ๆ ที่ฝังอยู่ข้างในก็ค่อย ๆ เหนียวขึ้น ชื้น และเหม็น แอร์จึงผุกร่อนกลายเป็นสนิมเร็วกว่าบ้านทั่วไปที่ไม่สูบบุหรี่” เฟิร์สเล่าอีกว่า นอกจากแอร์จะเสื่อมสภาพเร็วขึ้นแล้ว บ้านที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามักเรียกให้ไปล้างแอร์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 4 เดือน ต่างจากบ้านทั่วไปที่มักเรียกใช้บริการในระยะเวลา 6-12 เดือน
สสส. และภาคีเครือข่ายรณรงค์ลดการไม่สูบบุหรี่ในการจัดทำข้อมูลอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าที่ถูกต้องให้กับประชาชน โดยในปี 2567 ภายใต้การดำเนินงานของโครงการรณรงค์ “บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายกว่าที่คิด” นอกจากสื่อรณรงค์สร้างความตระหนัก ยังมีสื่อที่ให้ข้อมูลอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าในรูปแบบคู่มือชุด ”บุหรี่ไฟฟ้าภัยร้ายซ่อนลึก เกาะปอด และอวัยวะสำคัญ” ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน
สามารถดาวน์โหลดคู่มือ“บุหรี่ไฟฟ้าภัยร้ายซ่อนลึก”นี้ได้แล้วที่