Welcome to Thai nursing time

คุณจิราภรณ์ พราหมณ์คล้ำ 062 619 7893 , คุณอมรรัตน์ ทัดดอกไม้ : 084 635 5414 6:00 AM - 10:00 PM (Mon-Fri)

ครบ 1 ปี ความร่วมมือด้านจีโนมิกส์ไทย – สหราชอาณาจักร ไทย ผ่านครึ่งทางถอดรหัสพันธุกรรม 27,000 ราย ใช้เป็นฐานข้อมูลต่อยอดวิจัยพัฒนา ยกระดับอุตสาหกรรมและบริการการแพทย์

จำนวนผู้เข้าชม : 264 ครั้ง

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) นายมาร์ค กูดดิ้ง เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย พร้อมด้วย ดอกเตอร์คอลิน วิลสัน หัวหน้าฝ่ายงานด้านนวัตกรรมและความก้าวหน้า สำนักชีววิทยาศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขและการดูแลทางสังคม และนายเจมส์ ดูบอฟ ผู้อำนวยการความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ องค์กร Genomics England  นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข นางสาวบุณยวีร์ เอื้อศิริวรรณ ผู้จัดการงานวิจัย สวรส. พร้อมด้วยผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญจากประเทศไทยและสหราชอาณาจักร ร่วมในงาน “ฉลองครบรอบ 1 ปี การลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านจีโนมิกส์ ระหว่างสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขประเทศไทย และกระทรวงสาธารณสุขและการดูแลทางสังคมแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ” ณ.ทำเนียบเอกอัครราชทูตอังกฤษ โฟร์ซีซั่นส์ เรสซิเดนซ์ กรุงเทพฯ

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวว่า ในนามกระทรวงสาธารณสุขประเทศไทย ขอร่วมแสดงความยินดีในการเฉลิมฉลองครบรอบ 1 ปี ของการลงนามบันทึกความเข้าใจ ฯ ซึ่งครบรอบไปเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา โดยความร่วมมือดังกล่าวมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อสร้างโอกาสความร่วมมือ ในด้านวิชาการทางการวิจัย และการพัฒนาบุคลากรด้านการแพทย์จีโนมิกส์ระหว่างสองประเทศ ทั้งนี้การแพทย์จีโนมิกส์ หรือการแพทย์แม่นยำเป็นการให้บริการทางการแพทย์ที่มีการนำข้อมูลพันธุกรรมมาใช้ร่วมกับข้อมูลสุขภาพ รวมถึงข้อมูลสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตที่จำเพาะของผู้ป่วยแต่ละราย มาใช้ในการวินิจฉัย และวางแผนการรักษาได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น ทำให้ลดภาวะแทรกซ้อน ลดการเจ็บป่วย ตลอดจนสามารถใช้ตรวจคัดกรอง เพื่อป้องกันการเกิดโรคในอนาคต  รวมถึงป้องกันความพิการและพัฒนาการช้าของเด็กที่เกิดใหม่ เรียกได้ว่า การแพทย์จีโนมิกส์สามารถดูแลสุขภาวะของประชาชน  ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์เป็นทารก จนโตและเสียชีวิต

Recent Posts