วันที่ 12 -18 พฤษภาคม 2566 ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกร สภากาชาดไทย ได้มีการจัดงานสัปดาห์วันพยาบาลสากล ประจำปี 2566โดยมี นายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นประธานเปิดงาน “สัปดาห์วันพยาบาลสากลประจำปี 2566” พร้อมร่วมชมนิทรรศการและกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ภายใต้แนวคิด OUR NURSES. OUR FUTURE. ณ โถงชั้น M อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซึ่งจะจัดระหว่างจัดตั้งขึ้นเพื่อสดุดีคุณงามความดีของมิสฟลอเรนซ์ ในติงเกล ผู้ก่อกำเนิดวิชาชีพพยาบาล ที่ทำประโยชน์อย่างมากมายให้แก่มวลมนุษย์ รวมทั้งเป็นการยกย่อง ให้เกียรติ และเชิดชูเป็นต้นแบบ อีกทั้งยังมีจุดมุ่งหมายให้พยาบาลทั่วโลก ร่วมมือจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แก่สาธารณชน
ซึ่งภายในงานสัปดาห์วันพยาบาลสากล ประจำปี 2566 ครั้งนี้ ทางคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี (International Committee of the Red Cross – ICRC) ได้มีมติมอบเหรียญรางวัลฟลอเรนซ์ไนติงเกล แด่คุณเฉลาศรี เสงี่ยม หัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พยาบาลผู้ที่มีผลงานดีเด่น ผ่านการเกณฑ์การอุทิศตนช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้เคราะห์ร้ายจากสงครามและภัยพิบัติ อุทิศตนในการให้บริการด้านสาธารณสุข หรือการพยาบาล ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี (International Committee of the Red Cross – ICRC)
สำหรับ “เหรียญฟลอเรนซ์ ไนติงเกล” นั้น เป็นรางวัลที่จัดทำขึ้นเพื่อ เป็นอนุสรณ์แก่มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ในฐานะผู้ก่อกำเนิดวิชาชีพการพยาบาล โดยจะมอบให้แก่พยาบาลผู้ที่มีผลงานดีเด่นทั้งในยามสงบและในยามสงคราม ใน การอุทิศตนช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้เคราะห์ร้ายจากสงครามและ ภัยพิบัติ อุทิศตนในการให้บริการ รวมถึงรางวัลเหรียญฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale Medal) ซึ่งถือเป็นรางวัลเกียรติยศที่สูงที่สุดสำหรับพยาบาลทั่วโลก จากการอุทิศตนและความกล้าหาญในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากสงครามหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติโดยผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี (International Committee of the Red Cross – ICRC)
อซีอาร์ซี (International Committee of the Red Cross – ICRC) มีภารกิจด้านมนุษยธรรมในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากการสู้รบและสถานการณ์รุนแรงอื่นที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง ไอซีอาร์ซีมีสำนักงานใหญ่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แเริ่มก่อตั้งสำนักงานเมื่อ พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากสงครามอินโดจีนในประเทศเพื่อนบ้าน ต่อมา พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) ไอซีอาร์ซีในไทยได้ปรับบทบาทเป็นสำนักงานภูมิภาค โดยขยายขอบข่ายงานครอบคลุมประเทศกัมพูชา ลาว และเวียดนาม และมีสำนักงานภูมิภาคในกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการประสานงานและช่วยเหลือ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการทำงานด้านมนุษยธรรมผ่านความร่วมมือกับสภากาชาดในประเทศ และการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในหลากหลายระดับ ปัจจุบัน สำนักงานไอซีอาร์ซีในประเทศไทยได้ขยายขอบข่ายงานเป็นศูนย์รวมความเชี่ยวชาญหลากหลายสาขาแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และทำงานครอบคลุมการส่งเสริมและแลกเปลี่ยนความรู้และความเชี่ยวชาญกับหน่วยงานและองค์กรทั้งในประเทศและระหว่างประเทศเพื่อป้องกันและให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม