วันนี้ (23 กุมภาพันธ์ 2566) งานแถลงข่าวการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลง ระหว่างกรมอนามัย และมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นับเป็นรากฐานที่ สำคัญของสุขภาพทารกที่ดี นมแม่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ เป็นวัคซีนหยดแรกในการสร้างภูมิคุ้มกันของทารก เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาระดับสติปัญญาส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กอย่างต่อเนื่องยาวนานการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นับเป็นรากฐานที่ สำคัญของสุขภาพทารกที่ดี นมแม่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ เป็นวัคซีนหยดแรกในการสร้างภูมิคุ้มกันของทารก เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาระดับสติปัญญาส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กอย่างต่อเนื่องยาวนาน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นับเป็นรากฐานที่ สำคัญของสุขภาพทารกที่ดี นมแม่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ เป็นวัคซีนหยดแรกในการสร้างภูมิคุ้มกันของทารก เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาระดับสติปัญญาส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กอย่างต่อเนื่องยาวนาน นั้นอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ เป็นวัคซีนหยดแรกในการสร้างภูมิคุ้มกันของทารก เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาระดับสติปัญญา ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กอย่างต่อเนื่องยาวนาน แต่จากข้อมูลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยปี 2562 โดย สำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ พบว่า มีเด็กไทยเพียง ร้อยละ 34 ที่ได้กินนมแม่ภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด และมีเพียงร้อยละ 14 ที่ได้กินนมแม่เพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้รับน้ำหรืออาหารอย่างอื่นผสม ในช่วง 6 เดือนแรก กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายในการส่งเสริมให้เด็กไทยทุกคนได้กินนมแม่อย่างเต็มที่ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก คือ "กินนมแม่ตั้งแต่ 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด กินนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต และ กินนมแม่ต่อเนื่องควบคู่อาหารตามวัย จนถึงอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น โดยมีเป้าหมายในปี 2568 ให้เด็กไทยร้อยละ 50 จะได้กินนมแม่อย่างเดียวถึง 6 เดือน รวมทั้งกรมอนามัย และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะพลังที่สำคัญจากมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย จึงเร่งดำเนินการส่งเสริมให้เด็กไทยได้กินนมแม่ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนให้เด็กไทยทุกคนได้กินนมแม่เป็นการวางรากฐานที่มั่นคงให้แก่เด็กไทย สำหรับการลงนามความร่วมมือระหว่างกรมอนามัย และ มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ในวันนี้ นอกจากจะสนับสนุนนโยบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทย ยังเป็นการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายที่องค์กรอนามัยโลกกำหนด รวมทั้ง ให้คุณแม่ทุกคนสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จและรวมพลังผลักดันให้ครอบครัว สังคมไทยเข้าสู่วิถีสังคมนมแม่ ให้เด็กไทยทุกคนได้มีโอกาสเติบโต อย่างมีคุณภาพ เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป
แพทย์หญิงศิริพร กัญชนะ ประธานมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยกล่าวในงานแถลงข่าวครั้งนี้ว่า "มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย เป็นองค์กรท่ี่เกิดจากการรวมตัวของ แพทย์ พยาบาล และบุคลากรสุขภาพอื่นๆ รวมถึงกลุ่มแม่อาสา ผู้ตระหนักถึงประโยชน์นานัปการของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงได้สานพลังร่วมกับกรมอนามัยซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก และร่วมกับภาคเครื่อข่ายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ รณรงค์ขับเคลื่อนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยได้รับการสนัยสนุนงบประมาณจาก สสส. มาอย่างต่อเนื่องเกือบ 20 ปี มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูดด้วยนมแม่ ให้เด็กไทยได้กินนมแม่ภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด กินนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต และ กินนมแม่ต่อเนื่องร่วมกับอาหารตามวัยถึง 2 ปี ตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลก ภายในปี พ.ศ. 2568 ทารกได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ในอัตราร้อยละ 50การจับมือกับกรมอนามัยร่างยุทธศาสตร์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขึ้นเพื่อให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็น “วิถีของแม่และสังคมไทย” ประกอบด้วย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ1) การขับเคลื่อนนโยบายและกฎหมาย (Policy & Law Oriented) 2) การปลูกฝังและสร้างค่านิยม (Value and Culture Oriented) 3) การพัฒนาคุณภาพระบบบริการ (Quality of Service Oriented) และ 4) การจัดการความรู้และนวัตกรรม (Knowledge and Innovation Oriented) รวมทั้งลงนามความร่วมือการขับเคลื่อนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มาอย่างต่อเนื่อง"
“นอกจากนี้ มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ยังได้ร่วมกับกรมอนามัยจัดการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 8 เรื่อง เสริมพลัง สร้างความรู้ สู่วิถีนมแม่ อย่างยั่งยืน Step up Breastfeeding: Educate, Support and Sustain โดยมีราชวิทยาลัยกุมารเวชศาสตร์ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ สภาการพยาบาล สมาคมโภชนาการเด็ก กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมด้วย เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และฟื้นฟูวิชาการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ทันสมัย ในวันที่ 21-23 มีนาคม 2566 ซึ่งสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานทาง www.thaibfconference.net
ตั้งแต่วันนี้ถึง 6 มีนาคม 2566 นี้” แพทย์หญิงศิริพร กล่าว
ศ.คลินิก พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ตัวแทน มูลนิธิศูนย์นมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงความเป็นมาในการจัดแถลงข่าวของเช้าวันนี้ โดยสังเขป ดังนี้ จากผลที่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 6 เดือนแรก ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญในระดับนานาชาติ ในการบอกสถานการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของประเทศนั้นๆ ของประเทศไทย ล่าที่สุด พ.ศ.2565 อยู่ที่ ร้อยละ 14 ตกจาก ร้อยละ 23 เมื่อพ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นการลดลงอย่างน่าตกใจ พร้อมกับที่ปัจจุบันเรามีข้อมูลสำคัญ 3 เรื่อง เรื่องแรก คือการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตชาวโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง นำไปสู่ปัญหาสุขภาพของประชากรที่ทราบกันดี เช่นปัญหากลุ่มโรค NCDs โรคทางจิตใจ อารมณ์ โรคจากภัยพิบัติ ต่าง ๆ เรื่องที่ 2 คือ ความรู้ ผลงานวิจัยชิ้นใหม่ ๆ เกี่ยวกับประโยชน์และอิทธิพลของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในการให้ทารกมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง เช่นผลการศึกษา ชื่อโครงการ CHILD STUDY ของประเทศแคนนาดา แสดงถึง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีอิทธิพลต่อชุมชนจุลชีพในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งจะส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในโรคต่าง ๆ รวมถึงการลดปัญหาโรค NCDs ในอนาคต เรื่องที่ 3 คือ การศึกษาด้านสมองที่เราทราบกันดีกว่า ทารกและเด็กเล็ก 3 ขวบปีแรก มีอัตราการเติบโตสูงสุดถึงร้อยละ 80 ของน้ำหนักสมองผู้ใหญ่ และการศึกษาใหม่ๆ ยืนยันว่า นมแม่คืออาหารสมอง ที่ดีที่สุดทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ ในระยะเริ่มแรกของชีวิต จากสถานการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ต่ำลงมาก ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตชาวโลก ความรู้และผลงานวิจัยใหม่ๆ ประโยชน์ของนมแม่ต่อระบบภูมิคุ้มกันและอาหารสมอง ยืนยันว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นสาระสำคัญของการให้ต้นทุนสุขภาพที่ดี รวมทั้งความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยสำหรับทารกซึ่งเป็นช่วงวัยที่เป็น “หน้าต่างแห่งโอกาส” ที่สำคัญของชีวิตคนทุกคน เป็นฐานรากสำคัญในการจะก้าวต่อการเป็นคนพร้อมอยู่ในศตวรรษที่ 21 การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จำเป็นต้องมีการขับเคลื่อนให้เร็วขึ้น ให้สังคม ครอบครัว โดยเฉพาะ แม่ เข้าใจและเห็นความสำคัญในการเป็นผู้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สร้างวิถีนมแม่ในสังคมไทย ในเบื้องต้น มูลนิธิศูนย์นมแม่ฯ และกรมอนามัย ได้ร่วมกันจัดทำ ยุทธศาสตร์ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งครอบคลุมแนวทางขับเคลื่อนในมิติต่างๆ ดังจะได้มีการกล่าวถึงต่อไป จึงเป็นที่มาของการจัดแถลงข่าวพิธีลงนามบันทึกข้องตกลงการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ระหว่าง กรมอนามัยและมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย และประชาสัมพันธ์การประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 8 ซึ่งจะเป็นช่องทางหนึ่งของการเรียนรู้ร่วมกัน ในการสร้างองค์ความรู้และแนวทางปฎิบัติที่ถูกต้อง ภายใต้แนวคิด “เสริมพลัง สร้างความรู้ สู่วิถีนมแม่อย่างยั่งยืน”
https://youtube.com/shorts/wnyTj0YBxSM
https://youtube.com/shorts/aViFAhkJdg4
https://youtube.com/shorts/0swCMqyOiaY