5กุมภาพันธ์ 2566 ณ.ห้องประชุมราชา โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, มูลนิธิโรค ไตแห่งประเทศไทย, สมาคมพยาบาลโรคไตแห่งประเทศไทย, สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดงานแถลงข่าวร่วมมือขับเคลื่อนจุดยืนใหม่สำหรับงานกิจกรรม “วันไตโลก”(World Kidney Day 2023) ภายใต้คำขวัญ “Kidney Health For All- preparing for the unexpected, supporting the vulnerable ” หรือ “ตระหนักภัย ใส่ใจไต ป้องกันไว้ เน้นกลุ่มเสี่ยง” อันเนื่องจากในปีที่ผ่านมาแม้ว่าหลายหน่วยงานจะมีการรณรงค์และออกมาตรการต่าง ๆ มากมาย แต่ยังพบว่ามีผู้ป่วยฟอกไตรายใหม่เพิ่มขึ้น ยอดผู้ป่วยเพิ่มขึ้น และเพิ่มมากกว่า 18,000 ราย รวมยอดผู้ป่วยฟอกไตที่ยังต้องรักษาอยู่ทั้งหมดรวมทั่วประเทศกว่า 150,000 ราย
ในการร่วมแถลงข่าวครั้งนี้ พว.สุชาดา บุญแก้ว นายกสมาคมพยบาลโรคไตแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงบทบาทของสมาคม ฯ สำหรับพยาบาลผู้เชี่ยวชาญการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่ได้มีการจัดตั้งสมาคม ฯ ขึ้นมา จากความร่วมมือร่วมใจของพยาบาลวิชาชีพโรคไตทั่วประเทศ วัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้การพัฒนาวิชาการ พัฒนาองค์ความรู้ด้านการพยาบาลโรคไต พัฒนาบุคลากรด้านการพยาบาลโรคไต พัฒนาให้บริการวิชาการด้านการพยาบาลโรคไตแก่ประชาชนให้ทั่วถึงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปัจจุบันสมาคม ฯ มีสมาชิกทั่วประเทศร่วม 5,000 คน เป็นพยาบาลซึ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์ด่านแรก ที่ให้การดูแลผู้ป่วยโรคไตตั้งแต่ผู้ป่วยโรคไตก่อนบำบัดทดแทนไต บำบัดทดแทนไต และผู้ป่วยโรคไตที่รับการรักษาแบบประคับประคอง การบำบัดทดแทนไตทั้งการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการล้างไตทางช่องท้องต้องอยู่ในการดูแลของพยาบาล ที่ผ่านการอบรมเฉพาะทางที่สภาวิชาชีพ คือสภาการพยาบาลรับรอง เพื่อให้บริการผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพ และตามมาตรฐานสำหรับพยาบาลผู้เชี่ยวชาญการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พยาบาลต้องผ่านการอบรมเฉพาะทางที่สภาการพยาบาลรับรอง และเก็บประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า 1000 รอบ ในระยะเวลา 4-6 ปี และมาสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรจากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองการให้บริการที่ปลอดภัย แลมีคุณภาพ สำหรับผู้ป่วยที่รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในนามของสมาคมพยาบาลโรคไตแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการบริหารสมาคม มีความเชื่อมั่นว่าสมาคมจะเป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลโรคไตในประเทศไทย สร้างการยอมรับในสังคมในการส่งเสริม รักษาจรรยาบรรณ และเชิดชูเกียรติวิชาชีพของพยาบาลโรคไต ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะ ในด้านการส่งเสริมการศึกษา การบริการ การวิจัยด้านการพยาบาลโรคไต นำเสนอความก้าวหน้าของสมาชิกต่อรัฐบาล ท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และองค์กรวิชาชีพ รวมถึงการให้ความรู้ด้านการป้องกันโรคไต และการบำบัดทดแทนไตแก่ประชาชน ประสานงานในด้านการดูแลรักษาพยาบาล และพัฒนาระบบงานที่มีความต่อเนื่องในบุคคล ครอบครัว ชุมชน ร่วมมือกับองค์กรการกุศล เพื่อการกุศล และสาธารณประโยชน์
นพ.วุฒิเดช โอภาศเจริญสุข นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยได้กล่าว่า สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยขอประกาศจุดยืนใหม่ในวาระสำคัญวันไตโลก สมาคมฯ จะปรับกระบวนชะลอไตเสื่อมทั้งระบบ โดยป้องกันไตวายตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ด้วยการส่งเสริมการจัดการเบาหวาน การควบคุมความดันโลหิตสูง รณรงค์ให้ปรับพฤติกรรมการบริโภค ด้วยการ ลดเค็มครึ่งหนึ่ง งดเหล้า-บุหรี่ งดการกินยาแก้ปวด แก้อักเสบโดยไม่จำเป็น และที่สำคัญสมาคมฯ ให้ความสำคัญกับมาตรฐาน และคุณภาพควบคู่การบริการ ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดระหว่างการฟอกไต ทั้งฟอกเลือดและ ล้างไตทางช่องท้อง โดยอาศัยกลไกคณะอนุกรรมการตรวจรับรองมาตรฐานการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (ตรต.) ของแพทยสภา รวมทั้งสนับสนุนการบริการปลูกถ่ายไตเพื่อเพิ่มขาออกให้กับผู้ป่วยไตวาย ลดจำนวนผู้ป่วยฟอกไตใน ระบบ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และไม่ต้องพึ่งพิงการฟอกไปตลอดชีวิต รวมทั้งทำมาตรฐานการบริการผู้ป่วยระยะสุดท้าย แบบ palliative care สำหรับผู้ป่วยไตที่ไม่เหมาะสมทั้งกับการฟอกเลือดและการล้างไตทางช่องท้อง ให้มีชีวิตผาสุก และ ไม่ ทุกข์ทรมานกับโรคไต สิ่งสุดท้ายคือต้องสนับสนุน ส่งเสริม ระดมทุนร่วมมือทางการแพทย์และวิศวกรรม ประดิษฐ์ และสร้างผลิตภัณฑ์ ทางไตเทียมของประเทศ เพื่อให้เราพึ่งพาตนเองได้ ลดการนำเข้า และการขาดดุลการค้าของประเทศ สิ่งสุดท้ายคือต้องสนับสนุน ส่งเสริม ระดมทุนร่วมมือทางการแพทย์และวิศวกรรม ประดิษฐ์ และสร้างผลิตภัณฑ์ ทางไตเทียมของประเทศ เพื่อให้เราพึ่งพาตนเองได้ ลดการนำเข้า และการขาดดุลการค้าของประเทศ นพ.วุฒิเดช โอภาศเจริญสุข ยังกล่าวอีกว่า สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการ เผยแพร่ความรู้โรคไต ด้านการป้องกันและรักษาให้แก่ประชาชน และ มีบทบาทในการกำหนดทิศทาง นโยบายสาธารณสุข ด้านโรคไตของประเทศ โดยทำงานประสานกับ กระทรวงสาธารณสุข และ สปสช. ในการป้องกัน ดูแลรักษาด้านโรคไต ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ การจัดกิจกรรมวันไตโลก(World Kidney Day 2023) “Kidney Health For All- preparing for the unexpected, supporting the vulnerable” ภายใต้คำขวัญ “ตระหนักภัย ใส่ใจไต ป้องกันไว้ เน้นกลุ่มเสี่ยง” ในวันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2566 ณ บริเวณ ชั้น 1 โซน Central Court Zone C (ใกล้ลิฟต์แก้ว) ภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยในงานมี กิจกรรมต่างๆ มากมายอาทิ การตรวจสุขภาพโรคไต ฟรี สำหรับประชาชน โดยได้เตรียมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไตมาให้ คำปรึกษากับประชาชน เพื่อที่ประชาชนไม่ต้องเสียเวลาไปโรงพยาบาลตรวจ ซึ่งการตรวจจะเป็นการตรวจคัดกรองโรคไต ได้แก่ การตรวจค่าการทำงานของไตจากการเจาะเลือด หรือการตรวจปัสสาวะ ดูปริมาณโปรตีนที่รั่วในปัสสาวะ ภายในงานยัง มีนิทรรศการให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพไต งานแสดงผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ การสาธิตการออกกำลังกายจาก ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง การสาธิตการทำอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคไตโดยเชฟชื่อดัง และรายการบนเวทีที่ให้ทั้งความรู้ และความบันเทิงจาก ดารา ศิลปินที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย และเป็นปีแรกที่ทางสมาคมฯได้จัดให้มีการประกวดหนุ่มสาว สุขภาพไตดี
นพ. พิเชษฐ พัวพันกิจเจริญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า ผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปัญหาของผู้ป่วยโรคไตในประเทศไทย เป็นปัญหาที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าโรค อื่นๆ คนไทยมีแนวโน้มป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคเบาหวาน และโรคความดันสูง ผลที่ตามมาคือภาวะไต เสื่อม และไตจะเสื่อมเร็วขึ้นหากปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง เนื่องจากพฤติกรรมการรับประทานที่เปลี่ยนไป ทำให้พบโรคไตในเด็ก ด้วย สาเหตุหนึ่งคือการรับประทานอาหารเค็ม ฟาสต์ฟูด ขนมขบเคี้ยว โดยเฉพาะอาหารที่กำลังเป็นที่นิยม เนื้อหมักในซอส ปรุงรส เกลือ ผงหมัก รวมน้ำจิ้มแล้ว โดยรวมความเค็มมากกว่าอาหารปกติถึง 5 - 10 เท่า ดังนั้นจึงอยากให้ประชาชนหันมา ใส่ใจด้านการบริโภคอาหาร เพื่อช่วยให้มีสุขภาพที่ดี และเป็นการช่วยลดจำนวนผู้ป่วยจากโรคต่างๆ ได้อีกมาก
พญ. สุขฤทัย เลขยานนท์ อายุรแพทย์โรคไต ผู้แทนจากมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย ซึ่งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้า กัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นองค์ประธานก่อตั้ง และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรคไตและทางเดินปัสสาวะที่ยากไร้ โดยช่วย “ต่อชีวิต” ผู้ป่วยตามโครงการหน่วยไตเทียมทั่วประเทศ และช่วย “ชุบชีวิต” ผู้ป่วยด้วยการผ่าตัดปลูกถ่ายไต, สนับสนุนจัดประชุม วิชาการ ทุนวิจัย, ทุนแพทย์ศึกษาในประเทศ และทุนแพทย์ศึกษาต่อต่างประเทศ และให้ทุนฝึกอบรมพยาบาลไตเทียม นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนเป็นค่ายาและค่ารักษาผู้ป่วย,สนับสนุนเครื่องไตเทียม ระบบน้ำ และเครื่องมือทางการแพทย์ให้กับ โรงพยาบาลทั่วประเทศ อีกด้วย สำหรับในปี 2566 นี้ วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2566 เป็นวาระครบรอบ 100 ปี ประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งรัฐบาล ตลอดจน หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนจะจัดงานเฉลิม ฉลองในโอกาสนี้ตลอดปี พ.ศ.2566 รวมทั้งองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือองค์การ ยูเนสโก ได้ยกย่องพระนามสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นบุคคลสำคัญ ของโลกด้วย ในการนี้ มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย รู้สึกสำนึกในพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิ วัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่มีต่อมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย และผู้ป่วยโรคไตและทางเดินปัสสาวะที่ยากไร้ทั่ว ประเทศเป็นล้นพ้น ได้จัดตั้ง “โครงการปลูกถ่ายไตถวายเป้นพระราชกุศล 100 ปี ประสูติ สมเด็จพระเจ้านางเธอ เจ้าฟ้า กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จึงขอเชรียนเชิญท่านผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ และขอเชิญชวนบริจาค อวัยวะเพื่อต่อชีวิตผู้ป่วย ถวายเป็นพระราชกุศลร่วมกันสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ เบอร์โทรศัพท์ 02-419-7187 www.kidneythai.or
นพ. เจด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กล่าวว่า การส่งเสริมและการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคไตในแต่ละปี ได้จัดงบประมาณหลายล้านบาท โดยเน้นส่งเสริมป้องกันดูแลแบบครบวงจร นอกเหนือจากงบประมาณการล้างไตผ่านช่อง ท้อง การฟอกเลือด และการปลูกถ่ายไต ซึ่งผลการทำงานในแต่ละปี จะมีจำนวนผู้ป่วยที่สูงเกินกว่าเป้าหมายเพิ่มขึ้นทุกปี สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมากขึ้น สปสช. จึงได้เน้นส่งเสริมการป้องกันควบคู่การดูแล รักษา โดยเฉพาะการตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไม่ให้ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังเพิ่ม ระบบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ บัตรทอง ได้ให้สิทธิประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายครบวงจร รวมถึงสิทธิของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ของสำนักงานประกันสังคมด้วย เพื่อให้เข้าถึงการบริการที่มีคุณภาพ และ ได้ มาตรฐาน ครอบคลุมการบำบัดทดแทนไต ได้แก่ การผ่าตัดปลูกถ่ายไตการล้างไตผ่านทางช้องท้องอย่างต่อเนื่อง การฟอก เลือดด้วยเครื่องไตเทียม รวมถึงการให้ยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด
คุณธนพลธ์ ดอกแก้ว นายกสมาคมเพื่อนโรคไตฯ ได้สนับสนุน การรณรงค์ลดการบริโภคเค็มมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงประเด็นความเข้าใจผิด อย่างเรื่องเกี่ยวกับการบริจาคไต เพื่อให้ผู้ป่วยแล้ว ผู้บริจาคจะมีปัญหาสุขภาพอ่อนแอตามมา ซึ่งจากการวิจัยที่ผ่านมาของ American Medical Association ระบุว่าผู้บริจาคไตอาจมีอายุยืนพอๆ กัน หรือ มากกว่าคนที่มีไตครบทั้งสองข้างเสียอีก โดยที่ภายใน 12 ปีหลังการบริจาค กลุ่มที่บริจาคไตจะมีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่าคนที่มีไตครบทั้งสองข้างอย่างเห็นได้ชัด สำหรับในประเทศไทยมีผู้บริจาคไตประมาณ 300 รายต่อปี ซึ่งหมายความว่าในกลุ่มผู้รอบริจาคไตหนึ่งล้านคน จะมีผู้บริจาค เพียง 4.5 คนเท่านั้น คุณธนพลธ์ยังกล่าวทิ้งท้ายเชิญชวนผู้ที่สนใจจะบริจาคอวัยวะสามารถศึกษาข้อมูลได้ที่ศูนย์บริจาคอวัยวะสภากาชาด ไทย หรือ www.organdonate.in.th หรือ สายด่วน 166
ในงานแถลงข่าวครั้งนี้ดำเนินรายการโดย น.ต.หญิง ปาลิตา จิตตินันท์ และ คุณไชวัฒน์ อนุตระกูลชัย