สารจากนายกสมาคมพยาบาลโรคไตแห่งประเทศไทย พว.สุชาดา บุญแก้ว
ในปี 2566 นี้ สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 เริ่มคลี่คลายเป็นโรคติดเชื้อที่เฝ้าระวังทำให้มีการจัดการประชุมในรูปแบบเดิมได้ แต่อย่างไรก็ตามขอให้คงการใช้มาตรการเรื่องการป้องการการแพร่ระบาดของกรมควบคุมโรค โดยสวมหน้ากากอนามัยล้างมือ และเว้นระยะห่าง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดหรือการติดเชื้อในระหว่างการประชุมวิชากทา การประชุมครั้งนี้เป็นการจัดครั้งที่ 12 ตั้งแต่สมาคมพยาบาลโรคไตแห่งประเทศไทยยังเป็นชมรมพยาบาลโรคไตแห่งประเทศไทย โดยจัดครั้งแรกใน ปี 2555 มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะทบทวนและเพิ่มพูนองค์ความรู้และทักษะ เตรียมความพร้อมในการเป็นพยาบาลผู้เชี่ยวชาญไตเทียม รวมถึงพยาบาลที่เริ่มบทบาทการให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคไต การบำบัดทดแทนไต ได้นำองค์ความรู้ที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ รวมทั้งเทคโนโลยีที่มีกาเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันมาให้การพยาบาลผู้ป่วยอย่างปลอดภัย และมีคุณภาพ
ในโอกาสนี้ขอขอบพระคุณวิทยากรทุกท่านที่เสียสละเวลาในการบรรยาย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สำหรับสมาชิก ขอขอบพระคุณที่ปรึกษาสมาคมพยาบาลโรคไตแห่งประเทศไทยที่ให้คำแนะนำ และให้กำลังใจสมาชิกในการทำงาน และการสอบ ขอขอบคุณคณะกรรมการ และอนุกรรมการทุกท่านที่ร่วมแรงร่วมใจ รวมถึงการเป็นวิทยากรในการประชุม ทำให้การประชุมครั้งนี้ดำเนินไปด้วยความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ขอขอบคุณบริษัทยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ ที่ให้การสนับสนุนการเข้าร่วมประชุมของสมาชิก และพยาบาลผู้สนใจ สุดท้ายนี้ขอขอบคุณสมาชิกทุกท่านที่ให้ความสนใจ เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ และร่วมกิจกรรมของสมาคมฯมาโดยตลอด หากสมาชิกมีข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุง และพัฒนาทั้งการประชุม การสื่อสาร หรืออื่น ๆ สามารถแจ้งข้อมูลมาได้ที่ web site ของสมาคมพยาบาลโรคไตแห่งประเทศไทย www.nnatnurse.org หรือเมล nnatnurse.office@gmail,com หรือโทร 02-884-5903 เพื่อให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมกันพัฒนา สร้างความเชื่อมั่นในภาพลักษณ์ขององค์กรให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศ และสากลต่อไป
. การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 โรงแรมปรินส์พาเลซ กรุงเทพมหานคร บรรยายทางวิชาโดยวิทยากรที่มีคุณวุฒิทางโรคไต และการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "Holistic care for renal replacement therapy" เป็นการเตรียมความพร้อมของพยาบาลที่จะสอบพยาบาลผู้เชี่ยวชาญไตเทียม ปี 2566
ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียมมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และมีอายุมาก ภาวะโรคร่วมและเจ็บป่วยซับซ้อนมากขึ้น พยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่รับการบำบัดทดแทนไตโดยการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียมจะต้องมีองค์ความรู้เฉพาะทาง มีทักษะที่ชำนาญและสามารถใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ชั้นสูง ได้เป็นอย่างดีเพื่อให้มีคุณภาพและมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง บุคลากรด้านการพยาบาลต้องพัฒนาองค์ความรู้ให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลง ในปัจจุบันมีหลักสูตรที่เปิดการอบรมพยาบาลไตเทียมเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ทันกับความต้องการอันเนื่องจากนโยบายของสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติให้ผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมฟรีตั้งแต่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 อีกทั้งต้องพัฒนาความรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยการเข้าร่วมประชุมวิชาการพยาบาลผู้ปฏิบัติงานการดูแลผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ต้องผ่านการสอบเป็นพยาบาลผู้เชี่ยวชาญไตเทียมของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง สมาคมพยาบาลโรคไตแห่งประเทศไทยในฐานะองค์กรที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ มีสมาชิกที่เป็นพยาบาลไตเทียม มากกว่า 4,000 คน ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวจึงจัดการประชุมวิชาการครั้งนี้ขึ้นให้กับสมาชิกสมาคมพยาบาลโรคไตเพื่อได้ทบทวนและเพิ่มเติมศักยภาพพร้อมทั้งองค์ความรู้ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง นำสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผลต่อผู้ป่วย
และใน วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 นี้ มีการจัดทำ Workshop Holistic for RRT โดยมี พว.สุชาดา บุญแก้ว นายกสมาคมพยาบาลโรคไตแห่งประเทศไทย เป็นผู้บรรยายเรื่อง " Holistic aspect in Renal Replacement Therapy (RRT) " พว.ดรุณี จันทร์เลิศฤทธิ์ เป็นผู้บรรยายเรื่อง "Counseling aspect: Mode of RRT" พว.อภัสรา อรัญวัฒน์ เป็นผู้บรรยายเรื่อง "Holistic nursing care in hemodialysis patients" พว.ปิยาภรณ์ โทวันนัง เป็นผู้บรรยายเรื่อง "Nursing care aspect: Nursing intervention in hemodialysis adequacy" พว.สุนทรี เพิ่มพูนสวัสดิ์ เป็นผู้บรรยายเรื่อง "การบริหารจัดการด้านสิทธิการรักษาของผู้ป่วย" พว.อิษณี พุทธิมนตรี เป็นผู้บรรยายเรื่อง "Pitfall in Hemodialysis Procedure" พว.เสาวรส ปริญญะจิตตะ เป็นผู้บรรยายเรื่อง "Nursing Management in Hemodialysis complication" Workshop กรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยบำบัดทดแทนไตสำหรับผู้ที่จะสอบผู้เชี่ยวชาญ แบ่งกลุ่มทำ caseิ ทยากร case ที่ 1 พว.สุนทรี เพิ่มพูนสวัสดิ์, พว.อาภัสรา อรัญวัฒน์ ,พ.ต.หญิง สรวีย์ จินตนา, พว. วิภารัตน์ ศรีสุวรรณ์วิทยากร case ที่ 2 พว.เสาวรส ปริญญะจิตตะ, พว.ผ่องใส เวียงนนท์ ,พว.อิษณีย์ พุทธิมนตรี, พว.อุมากร เขาสุเมรุ วิทยากร case ที่ 3 พว. ศศิพิมพ์ ไพโรจน์กิจตระกูล, พ.ต.อ.หญิงนฤนาถ คีรีวรรณ์ , น.ท.ชญาภา วรพิทยาภรณ์, พว.ปวีณา สิงห์ทิศ วิทยากร case ที่ 4 พว.นันทา มหัธนันท์ , พว.พัชรินทร์ อินทร์จันทร์, พว.ปิยาภรณ์ โทวันนัง, พว.ปิ่นแก้ว กล้ายประยงค์