Welcome to Thai nursing time

คุณจิราภรณ์ พราหมณ์คล้ำ 062 619 7893 , คุณอมรรัตน์ ทัดดอกไม้ : 084 635 5414 6:00 AM - 10:00 PM (Mon-Fri)

มูลนิธิรางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

จำนวนผู้เข้าชม : 440 ครั้ง


มูลนิธิรางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาให้รางวัลแก่ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลจากประเทศในทุกภูมิภาคทั่วโลกที่มีผลงานดีเด่น โดยในปีนี้มีพิธีพระราชทานรางวัลกับผู้ที่ได้รับพระราชทานรางวัล ฯ ณ.พระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันศุกร์ที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ 

ประวัติ ศาสตราจารย์ ดร.นูริท เวกเนอร์ และ ศาสตราจารย์ ดร.มิเรียม เฮิร์ชเฟลด์


Professor Dr. Nurith WAGNER and Professor Dr. Miriam Judith HIRSCHFELD


 ศาสตราจารย์ ดร.นูริท เวกเนอร์ อายุ 81 ปี เกิดและเติบโตในประเทศอิสราเอล เป็นผู้นำระดับชาติและนานาชาติ ในเรื่องจริยศาสตร์ทางการพยาบาล สิทธิของผู้พิการ และมนุษยชน ส่วนศาสตราจารย์ ดร.มิเรียม เฮิร์ชเฟลด์ อายุ 80 ปี เกิดในประเทศนิวซีแลนด์ เติบโตในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย และย้ายมาอยู่ประเทศอิสราเอล เป็นผู้นำทางด้านการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม สิทธิมนุษยชน และการดูแลผู้ป่วยระยะยาว ทั้งสองท่านพบกันที่มหาวิทยาลัยเทลาวิฟ ในหลักสูตรหลังปริญญาตรี จากความสนใจในประเด็นปัญหาเดียวกัน จากนั้นได้มุ่งมั่นอุทิศทำงานร่วมกันมานานกว่า 50 ปีจนกระทั่งปัจจุบัน ในการส่งเสริมจริยธรรมทางการพยาบาลในวัฒนธรรมที่หลากหลาย การปกป้องสิทธิมนุษยชนในอิสราเอล และในระดับนานาชาติ


 ดร. นูริท เวกเนอร์ สำเร็จการศึกษาพยาบาลในระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี และปริญญาโทที่ประเทศอิสราเอล ปริญญาเอก ด้านบริหารการพยาบาลจาก Teacher College มหาวิทยาลัยColumbia สหรัฐอเมริกา และปริญญาเอกทางด้านจิตวิทยาและการศึกษา จากมหาวิทยาลัย Hebrew, Jerusalem ประเทศอิสราเอล หลังจากสำเร็จการศึกษาพยาบาลในประเทศสหรัฐอเมริกา ดร.เวกเนอร์ เริ่มทำงานเป็นพยาบาลประจำการหอผู้ป่วยฟื้นฟู โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย เพนซิลวาเนีย ฟิลาเดลเฟีย หลังจากนั้นได้กลับมาอิสราเอล รับตำแหน่งเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยฟื้นฟู และทำงานในชุมชนให้บริการในกลุ่มคนที่ส่วนใหญ่เป็นผู้อพยพที่ด้อยโอกาส และชนเผ่า และในขณะเดียวกันได้เริ่มทำงานร่วมกับ ดร.มิเรียม เฮิร์ชเฟลด์ เพื่อพัฒนาจริยธรรมทางการพยาบาล ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของวิชาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพยาบาลที่ต้องทำงานภายใต้ภาวะสงครามเช่นอิสราเอล ท่านได้รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพยาบาลเคพแพลน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยฮิบบรู  และได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้นำฝ่ายการศึกษาและบริการ


เพื่อส่งเสริมจรรยาบรรณของพยาบาล ซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วนที่กระทรวงสาธารณสุขต้องการให้พยาบาลทั่วประเทศได้ปฏิบัติ ดร. เวกเนอร์ จึงได้ริเริ่มพัฒนาเกมส์การตัดสินใจเชิงจริยธรรม เพื่อใช้สอนและช่วยเหลือพยาบาลตัดสินใจในภาวะที่ยุ่งยาก หรือเกิดข้อขัดแย้งทางจริยธรรม หลังจากได้นำไปสอน และตรวจสอบความถูกต้องเชิงวัฒนธรรม เกมส์นี้ก็ได้รับการตีพิมพ์และใช้กันอย่างกว้างขวางของพยาบาลในกระทรวงสาธารณสุข และใช้สอนในโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศอิสราเอล ดร.เวกเนอร์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นพยาบาลผู้เชี่ยวชาญทางชีวจริยธรรมคนหนึ่งของประเทศ และเป็นปากเป็นเสียงในสิ่งที่พยาบาลกังวล และห่วงใยในคณะกรรมการสหวิชาชีพต่าง ๆ ในระดับชาติ และมีส่วนในการกำหนดนโยบายต่าง ๆ เช่น การผลักดันให้เกิดกฎหมายเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายของชีวิต และท่านยังทำหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงในการปกป้องสิทธิของผู้ป่วยด้วย


 ดร.เวกเนอร์ เป็นผู้ก่อตั้งศูนย์จริยธรรมในสมาคมพยาบาลอิสราเอล และปัจจุบันทำหน้าที่เป็นนายกของสมาคม และ ดร.เฮิร์ชเฟลด์ เป็นคณะกรรมการอำนวยการ ศูนย์นี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางถึงความเข้มแข็งในการทำงานด้านการสาธารณสุข สิทธิมนุษยชน และจริยธรรมในประเด็นต่างๆ เช่น การสร้างแนวปฏิบัติเชิงจริยธรรมในการวิจัยทางการพยาบาล จริยธรรมการดูแลการทำงานของผู้พิการ การยอมรับสิทธิของผู้ดูแลและครอบครัว และพยายามเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ของกระทรวงกลาโหม และกระทรวงสาธารณสุข ในการใช้โซ่ตรวนกับผู้ป่วยที่เป็นนักโทษเมื่อต้องนอนอยู่ในโรงพยาบาล โดยขณะนี้ได้กำหนดแนวปฏิบัติให้พยาบาลต้องบันทึกรายงาน และเฝ้าระวังในการใช้ ด้วยความหวังที่จะหยุดใช้โซ่ตรวนกับผู้ป่วยเหล่านี้ และยังได้ร่วมกันทำวิจัย และเผยแพร่ผลงานหลายเรื่อง เช่น ความขัดแย้งของค่านิยม และความเต็มใจของพยาบาลในการทำงานภายใต้ภาวะคุกคาม ปัญหาเชิงจริยธรรมต่อการละเว้นการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล และยังได้พัฒนาเครื่องมือวัดภาวะบีบคั้นทางจริยธรรมของพยาบาล ซึ่งสามารถคัดกรองพยาบาลที่มีปัญหาเพื่อการแก้ไขได้ทันซึ่งเป็นการลดความเครียดให้กับพยาบาล และช่วยให้พยาบาลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น


 กิจกรรมส่วนหนึ่งของศูนย์จริยธรรม คือ การพัฒนาจรรยาบรรณของพยาบาล ซึ่งได้ประกาศใช้กับพยาบาลอิสราเอล และได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการกับพยาบาลทั่วประเทศ และเมื่อได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ฝ่ายการพยาบาลของศูนย์การแพทย์ฮาดาซา ได้จัดอบรม เรื่อง การดูแลผู้บาดเจ็บและฉุกเฉิน สำหรับทีมประจำรถฉุกเฉินของปาเลสไตน์ ซึ่งไม่เพียงแต่ปรับปรุงคุณภาพการบริการ แต่เป็นบันไดเพื่อสู่สันติภาพ และในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล ดร. เวกเนอร์ ได้ทำทุกวิถีทางในการเป็นปากเสียงให้กับผู้ป่วยชาวปาเลสไตน์และครอบครัว ให้ได้รับบริการที่เท่าเทียมกับผู้ป่วยอิสราเอล และทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่พยาบาล เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพ ด้วยความเห็นอกเห็นใจเข้าใจแม้ว่าผู้ป่วยชาวปาเลสไตน์เหล่านี้เป็นผู้โจมตีเจรูซาเลม


 


ดร.มิเรียม เฮิร์ชเฟลด์ จบปริญญาตรีทางพยาบาลศาสตร์ จากเวียนนา ออสเตรเลีย และได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานที่ประเทศอิสราเอล และเริ่มทำงานเป็นพยาบาลประจำการ ต่อมาได้เป็นครูทางคลินิก จากนั้นได้ไปศึกษาต่อในหลักสูตรการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง 1 ปี ที่ รพ. Memorial Sloan Kettering ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับรางวัลดีเด่นจากสมาคมพยาบาลมะเร็งนานาชาติ จากนั้นได้กลับมาอิสราเอล และศึกษาในหลักสูตรหลังปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยเทลาวิฟ และได้ทำวิจัยร่วมกับ ดร.เวกเนอร์ เกี่ยวกับความเครียดและความสัมพันธ์กับการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ในกลุ่มผู้อพยพชาวอิรักที่อยู่ในชุมชนของคนยากจน จากนั้น ดร. เฮิร์ชเฟลด์ ได้รับทุนให้ไปศึกษาต่อปริญญาโท และปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคาลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา


 เมื่อ ดร.เฮิร์ชเฟลด์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัย     แคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก ในปี ค.ศ. 1978 ได้กลับมาปฏิบัติงานที่อิสราเอล ใน 2 บทบาท คือ เป็นอาจารย์สอนระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทลาวิฟ และได้ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานสถานพยาบาลดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ของมูลนิธิอิสราเอล ซึ่งได้ดูแลผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 80 ของประเทศ และได้ทำงานร่วมกับ ดร.เวกเนอร์ และผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่าง ๆ ในการวิจัยประเด็นปัญหาเชิงจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่มีความจำเสื่อม เช่น ในเรื่องการบังคับขืนใจผู้ป่วยเหล่านี้ให้รับประทานอาหาร และได้ตีพิมพ์หนังสือร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะยาว ในประเทศอุตสาหกรรม และกำลังพัฒนา และได้เสนอกรณีศึกษาในแต่ละประเทศในการดูแลผู้ป่วย ภายใต้ข้อจำกัดของแหล่งประโยชน์และสถานที่ที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งงานพิมพ์ทางจริยธรรม ที่สำคัญเรื่องหนึ่ง คือ จริยธรรมทางเลือกในการดูแลระยะยาว : อะไรคือความยุติธรรม ซึ่งเป็นหนังสือที่ใช้กันแพร่หลายในประเทศอิสราเอล ปาเลสไตน์ และประเทศอื่น ๆ


 ในปี ค.ศ. 1989 ดร.เฮิร์ชเฟลด์ ได้รับคัดเลือกจากองค์การอนามัยโลก ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายวิชาการซึ่งเป็นพยาบาลคนแรกที่ดำรงตำแหน่งนี้ และเป็นผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งท่านได้พัฒนางานวิจัยในระดับนานาชาติ และทำงานเป็นเครือข่ายกับศูนย์ประสานงานขององค์การอนามัยโลก 36 ศูนย์ จาก 6 เขต และร่วมกับสภาการพยาบาลระหว่างประเทศ ในการออกนโยบายที่สำคัญคือ Resolution 45.5 เกี่ยวกับการสร้างความเข้มแข็งให้กับวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ และสมัชชาสุขภาพขององค์การอนามัยโลก ให้การสนับสนุนให้ประเทศสมาชิก 191 ประเทศ นำไปปฏิบัติ และติดตามความก้าวหน้า โดยต้องรายงานในที่ประชุมสมัชชาโลกทุกครั้งของการประชุม ซึ่งการทำงานในองค์การอนามัยโลกท่ามกลางผู้เชี่ยวชาญที่ส่วนใหญ่เป็นแพทย์ ต้องใช้ความพยายามอย่างมากที่จะเสนอนโยบายต่าง ๆ ให้เป็นที่ยอมรับ และจากผลงานนี้ท่านได้รับปริญญาเอกกิตติศักดิ์ (ทางการแพทย์) จากประเทศอังกฤษ และจากประเทศอเมริกา (ด้านวิทยาศาสตร์) และได้รับเหรียญรางวัลจากประธานาธิบดีออสเตรีย และเหรียญทองจากสมาคมพยาบาลออสเตรีย นอกจากนั้นท่านเป็นผู้หนึ่งที่ต่อต้านการขลิบอวัยวะเพศภายนอกของเด็กผู้หญิงอย่างเข้มแข็ง


 หลังจากเกษียณจากองค์การอนามัยโลก ดร.เฮิร์ชเฟลด์ และดร. เวกเนอร์ ได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ในเรื่องสิทธิมนุษยชน และร่วมมือกับพยาบาลของปาเลสไตน์ ดร.เวกเนอร์ ได้ทำงานกับองค์กรอิสระที่ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่จุดตรวจของกองทัพปาเลสไตน์อย่างเข้มแข็งมานาน จนได้รับรางวัลสิทธิมนุษยชน และรางวัลทางการพยาบาลจากศูนย์จริยธรรมทางการพยาบาลนานาชาติ มหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ ประเทศอังกฤษ เพื่อเป็นแบบอย่างของการทำงานที่สะท้อนปรัชญาที่สำคัญของการพยาบาลในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์โดยเฉพาะผู้ที่อ่อนแอ และด้อยโอกาส ดร.เฮิร์ชเฟลด์ได้รับการทาบทามจากวารสาร WHO – Israeli – Palestinian Bridge ซึ่งเป็นวารสารที่สร้างขึ้น เพื่อใช้ประเด็นทางสุขภาพเป็นสะพานเชื่อม 2 ประเทศไปสู่สันติภาพ โดยเป็นฉบับพิเศษที่ตีพิมพ์ เกี่ยวกับการพยาบาล จึงทำให้ท่านมีความสัมพันธภาพที่ดีกับสมาคมพยาบาลและผู้นำทางการพยาบาลของปาเลสไตน์ ดร.เฮิร์ชเฟลด์และ ดร.เวกเนอร์ ได้ช่วยพัฒนาหลักสูตรปริญญาเอก สาขาพยาบาลศาสตร์ ให้กับปาเลสไตน์ ตลอดจนช่วยสอนในด้านการวิจัย ทำให้พยาบาลปาเลสไตน์ได้เข้าไปมีส่วนร่วม ในการเสนอผลงานในการประชุมการวิจัยทางการพยาบาลที่เจรูซาเลม นอกจากนั้น ในการประชุมสภาการพยาบาลระหว่างประเทศ ที่เมลเบอร์น ในปี ค.ศ. 2013 ทั้ง 2 ท่าน ยังช่วยให้สมาคมพยาบาลปาเลสไตน์ ได้เข้าไปเป็นสมาชิกของสภาการพยาบาลระหว่างประเทศ โดยคำแนะนำของสมาคมพยาบาลอิสราเอล ซึ่งนับว่าเป็นองค์กรเดียวที่ปาเลสไตน์ได้เข้าไปเป็นสมาชิกในระดับนานาชาติที่อิสราเอลให้การต้อนรับ โดย ดร.เฮิร์ชเฟลด์ เป็นผู้สนับสนุน และชี้ให้เห็นว่า 2 องค์กรนี้เป็นตัวแทนของประชาชนที่แยกจากกันทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงแล้ว 2 ประเทศนี้ไม่ได้มีอาณาเขตแยกจากกัน


ดร.เวกเนอร์ และดร. เฮิร์ชเฟลด์ เป็นกรรมการอำนวยการประชุมของพยาบาลในตะวันออกกลาง และได้กำหนดแผนการประชุมประจำปี และการประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งพยาบาลปาเลสไตน์ และอิสราเอลได้ร่วมกันค้นหาปัญหา และแนวทางแก้ไข ซึ่งการทำงานเช่นนี้ทำให้ 2 ประเทศนี้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนทางด้านการฝึกอบรม และสามารถส่งต่อและติดตามเมื่อผู้ป่วยจากปาเลสไตน์มารับการรักษาที่โรงพยาบาลในอิสราเอล


เมื่อเร็ว ๆ นี้ ดร.เวกเนอร์ และดร. เฮิร์ชเฟลด์ พยายามที่จะฝึกอบรมพยาบาลเฉพาะทางด้านการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ให้กับพยาบาลปาเลสไตน์ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิโรสสานนา และศูนย์การแพทย์ฮาดาช เนื่องจากเมื่อเกิดการสู้รบ ผู้ป่วยจะเกิดความยากลำบากมากในการมาโรงพยาบาล แต่ทั้ง 2 ท่าน ยังคงพยายามทำต่อไป ร่วมกับพยาบาลทั้งสองประเทศ ท่ามกลางความยากลำบากของสงคราม และในระหว่างการระบาดของโควิด 19  ที่มีการปิดเมือง ทั้ง 2 ท่าน ได้ร่วมกันจัดประชุมทาง webinar ให้กับพยาบาลทั้ง 2 ประเทศอย่างต่อเนื่อง


 ในฐานะที่ ดร.เวกเนอร์ และดร. เฮิร์ชเฟลด์ เป็นคณะกรรมการจริยธรรมได้ร่วมกันผลักดันการปกป้องสิทธิมนุษยชนหลายอย่างจนประสบความสำเร็จ และได้รับการตอบสนองอย่างดีจากแพทย์ เช่นแพทย์ได้เข้ามาให้การดูแลผู้อพยพที่อยู่ในค่ายที่ไม่มีสิทธิ์ในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผู้ที่อยู่ตามเขตชายแดน และในกาซาทุกสัปดาห์


นับว่า ศาสตราจารย์ ดร.นูริท เวกเนอร์ และ ศาสตราจารย์ ดร.มิเรียม เฮิร์ชเฟลด์ ได้ร่วมกันทำงาน เพื่อช่วยปกป้องสิทธิมนุษยชน ให้เกิดความเป็นธรรมกับคนที่อ่อนแอในสังคม ให้มีโอกาสเข้าถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ และยังช่วยเหลือประสานความร่วมมือในการส่งเสริมจริยธรรม ความรู้ และความเข้าใจซึ่งกันและกันของพยาบาลอิสราเอล และปาเลสไตน์ เพื่อเป็นสะพานสู่สันติสุขในสองประเทศ คณะกรรมการนานาชาติพิจารณารางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จึงมีมติเห็นสมควรเสนอให้ ศาสตราจารย์ ดร.นูริท เวกเนอร์ และ ศาสตราจารย์ ดร.มิเรียม เฮิร์ชเฟลด์ เป็นผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประจำปีพุทธศักราช 2565 เป็นลำดับที่ 1


  ประวัติ ศาสตราจารย์ ดร.นูริท เวกเนอร์ และ ศาสตราจารย์ ดร.มิเรียม เฮิร์ชเฟลด์


Professor Dr. Nurith WAGNER and Professor Dr. Miriam Judith HIRSCHFELD


 ศาสตราจารย์ ดร.นูริท เวกเนอร์ อายุ 81 ปี เกิดและเติบโตในประเทศอิสราเอล เป็นผู้นำระดับชาติและนานาชาติ ในเรื่องจริยศาสตร์ทางการพยาบาล สิทธิของผู้พิการ และมนุษยชน ส่วนศาสตราจารย์ ดร.มิเรียม เฮิร์ชเฟลด์ อายุ 80 ปี เกิดในประเทศนิวซีแลนด์ เติบโตในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย และย้ายมาอยู่ประเทศอิสราเอล เป็นผู้นำทางด้านการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม สิทธิมนุษยชน และการดูแลผู้ป่วยระยะยาว ทั้งสองท่านพบกันที่มหาวิทยาลัยเทลาวิฟ ในหลักสูตรหลังปริญญาตรี จากความสนใจในประเด็นปัญหาเดียวกัน จากนั้นได้มุ่งมั่นอุทิศทำงานร่วมกันมานานกว่า 50 ปีจนกระทั่งปัจจุบัน ในการส่งเสริมจริยธรรมทางการพยาบาลในวัฒนธรรมที่หลากหลาย การปกป้องสิทธิมนุษยชนในอิสราเอล และในระดับนานาชาติ


ดร. นูริท เวกเนอร์ สำเร็จการศึกษาพยาบาลในระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี และปริญญาโทที่ประเทศอิสราเอล ปริญญาเอก ด้านบริหารการพยาบาลจาก Teacher College มหาวิทยาลัยColumbia สหรัฐอเมริกา และปริญญาเอกทางด้านจิตวิทยาและการศึกษา จากมหาวิทยาลัย Hebrew, Jerusalem ประเทศอิสราเอล หลังจากสำเร็จการศึกษาพยาบาลในประเทศสหรัฐอเมริกา ดร.เวกเนอร์ เริ่มทำงานเป็นพยาบาลประจำการหอผู้ป่วยฟื้นฟู โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย เพนซิลวาเนีย ฟิลาเดลเฟีย หลังจากนั้นได้กลับมาอิสราเอล รับตำแหน่งเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยฟื้นฟู และทำงานในชุมชนให้บริการในกลุ่มคนที่ส่วนใหญ่เป็นผู้อพยพที่ด้อยโอกาส และชนเผ่า และในขณะเดียวกันได้เริ่มทำงานร่วมกับ ดร.มิเรียม เฮิร์ชเฟลด์ เพื่อพัฒนาจริยธรรมทางการพยาบาล ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของวิชาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพยาบาลที่ต้องทำงานภายใต้ภาวะสงครามเช่นอิสราเอล ท่านได้รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพยาบาลเคพแพลน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยฮิบบรู  และได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้นำฝ่ายการศึกษาและบริการ


เพื่อส่งเสริมจรรยาบรรณของพยาบาล ซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วนที่กระทรวงสาธารณสุขต้องการให้พยาบาลทั่วประเทศได้ปฏิบัติ ดร. เวกเนอร์ จึงได้ริเริ่มพัฒนาเกมส์การตัดสินใจเชิงจริยธรรม เพื่อใช้สอนและช่วยเหลือพยาบาลตัดสินใจในภาวะที่ยุ่งยาก หรือเกิดข้อขัดแย้งทางจริยธรรม หลังจากได้นำไปสอน และตรวจสอบความถูกต้องเชิงวัฒนธรรม เกมส์นี้ก็ได้รับการตีพิมพ์และใช้กันอย่างกว้างขวางของพยาบาลในกระทรวงสาธารณสุข และใช้สอนในโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศอิสราเอล ดร.เวกเนอร์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นพยาบาลผู้เชี่ยวชาญทางชีวจริยธรรมคนหนึ่งของประเทศ และเป็นปากเป็นเสียงในสิ่งที่พยาบาลกังวล และห่วงใยในคณะกรรมการสหวิชาชีพต่าง ๆ ในระดับชาติ และมีส่วนในการกำหนดนโยบายต่าง ๆ เช่น การผลักดันให้เกิดกฎหมายเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายของชีวิต และท่านยังทำหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงในการปกป้องสิทธิของผู้ป่วยด้วย


 


ดร.เวกเนอร์ เป็นผู้ก่อตั้งศูนย์จริยธรรมในสมาคมพยาบาลอิสราเอล และปัจจุบันทำหน้าที่เป็นนายกของสมาคม และ ดร.เฮิร์ชเฟลด์ เป็นคณะกรรมการอำนวยการ ศูนย์นี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางถึงความเข้มแข็งในการทำงานด้านการสาธารณสุข สิทธิมนุษยชน และจริยธรรมในประเด็นต่างๆ เช่น การสร้างแนวปฏิบัติเชิงจริยธรรมในการวิจัยทางการพยาบาล จริยธรรมการดูแลการทำงานของผู้พิการ การยอมรับสิทธิของผู้ดูแลและครอบครัว และพยายามเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ของกระทรวงกลาโหม และกระทรวงสาธารณสุข ในการใช้โซ่ตรวนกับผู้ป่วยที่เป็นนักโทษเมื่อต้องนอนอยู่ในโรงพยาบาล โดยขณะนี้ได้กำหนดแนวปฏิบัติให้พยาบาลต้องบันทึกรายงาน และเฝ้าระวังในการใช้ ด้วยความหวังที่จะหยุดใช้โซ่ตรวนกับผู้ป่วยเหล่านี้ และยังได้ร่วมกันทำวิจัย และเผยแพร่ผลงานหลายเรื่อง เช่น ความขัดแย้งของค่านิยม และความเต็มใจของพยาบาลในการทำงานภายใต้ภาวะคุกคาม ปัญหาเชิงจริยธรรมต่อการละเว้นการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล และยังได้พัฒนาเครื่องมือวัดภาวะบีบคั้นทางจริยธรรมของพยาบาล ซึ่งสามารถคัดกรองพยาบาลที่มีปัญหาเพื่อการแก้ไขได้ทันซึ่งเป็นการลดความเครียดให้กับพยาบาล และช่วยให้พยาบาลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น


กิจกรรมส่วนหนึ่งของศูนย์จริยธรรม คือ การพัฒนาจรรยาบรรณของพยาบาล ซึ่งได้ประกาศใช้กับพยาบาลอิสราเอล และได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการกับพยาบาลทั่วประเทศ และเมื่อได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ฝ่ายการพยาบาลของศูนย์การแพทย์ฮาดาซา ได้จัดอบรม เรื่อง การดูแลผู้บาดเจ็บและฉุกเฉิน สำหรับทีมประจำรถฉุกเฉินของปาเลสไตน์ ซึ่งไม่เพียงแต่ปรับปรุงคุณภาพการบริการ แต่เป็นบันไดเพื่อสู่สันติภาพ และในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล ดร. เวกเนอร์ ได้ทำทุกวิถีทางในการเป็นปากเสียงให้กับผู้ป่วยชาวปาเลสไตน์และครอบครัว ให้ได้รับบริการที่เท่าเทียมกับผู้ป่วยอิสราเอล และทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่พยาบาล เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพ ด้วยความเห็นอกเห็นใจเข้าใจแม้ว่าผู้ป่วยชาวปาเลสไตน์เหล่านี้เป็นผู้โจมตีเจรูซาเลม


 ดร.มิเรียม เฮิร์ชเฟลด์ จบปริญญาตรีทางพยาบาลศาสตร์ จากเวียนนา ออสเตรเลีย และได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานที่ประเทศอิสราเอล และเริ่มทำงานเป็นพยาบาลประจำการ ต่อมาได้เป็นครูทางคลินิก จากนั้นได้ไปศึกษาต่อในหลักสูตรการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง 1 ปี ที่ รพ. Memorial Sloan Kettering ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับรางวัลดีเด่นจากสมาคมพยาบาลมะเร็งนานาชาติ จากนั้นได้กลับมาอิสราเอล และศึกษาในหลักสูตรหลังปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยเทลาวิฟ และได้ทำวิจัยร่วมกับ ดร.เวกเนอร์ เกี่ยวกับความเครียดและความสัมพันธ์กับการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ในกลุ่มผู้อพยพชาวอิรักที่อยู่ในชุมชนของคนยากจน จากนั้น ดร. เฮิร์ชเฟลด์ ได้รับทุนให้ไปศึกษาต่อปริญญาโท และปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคาลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา


 เมื่อ ดร.เฮิร์ชเฟลด์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัย     แคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก ในปี ค.ศ. 1978 ได้กลับมาปฏิบัติงานที่อิสราเอล ใน 2 บทบาท คือ เป็นอาจารย์สอนระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทลาวิฟ และได้ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานสถานพยาบาลดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ของมูลนิธิอิสราเอล ซึ่งได้ดูแลผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 80 ของประเทศ และได้ทำงานร่วมกับ ดร.เวกเนอร์ และผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่าง ๆ ในการวิจัยประเด็นปัญหาเชิงจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่มีความจำเสื่อม เช่น ในเรื่องการบังคับขืนใจผู้ป่วยเหล่านี้ให้รับประทานอาหาร และได้ตีพิมพ์หนังสือร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะยาว ในประเทศอุตสาหกรรม และกำลังพัฒนา และได้เสนอกรณีศึกษาในแต่ละประเทศในการดูแลผู้ป่วย ภายใต้ข้อจำกัดของแหล่งประโยชน์และสถานที่ที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งงานพิมพ์ทางจริยธรรม ที่สำคัญเรื่องหนึ่ง คือ จริยธรรมทางเลือกในการดูแลระยะยาว : อะไรคือความยุติธรรม ซึ่งเป็นหนังสือที่ใช้กันแพร่หลายในประเทศอิสราเอล ปาเลสไตน์ และประเทศอื่น ๆ


 ในปี ค.ศ. 1989 ดร.เฮิร์ชเฟลด์ ได้รับคัดเลือกจากองค์การอนามัยโลก ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายวิชาการซึ่งเป็นพยาบาลคนแรกที่ดำรงตำแหน่งนี้ และเป็นผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งท่านได้พัฒนางานวิจัยในระดับนานาชาติ และทำงานเป็นเครือข่ายกับศูนย์ประสานงานขององค์การอนามัยโลก 36 ศูนย์ จาก 6 เขต และร่วมกับสภาการพยาบาลระหว่างประเทศ ในการออกนโยบายที่สำคัญคือ Resolution 45.5 เกี่ยวกับการสร้างความเข้มแข็งให้กับวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ และสมัชชาสุขภาพขององค์การอนามัยโลก ให้การสนับสนุนให้ประเทศสมาชิก 191 ประเทศ นำไปปฏิบัติ และติดตามความก้าวหน้า โดยต้องรายงานในที่ประชุมสมัชชาโลกทุกครั้งของการประชุม ซึ่งการทำงานในองค์การอนามัยโลกท่ามกลางผู้เชี่ยวชาญที่ส่วนใหญ่เป็นแพทย์ ต้องใช้ความพยายามอย่างมากที่จะเสนอนโยบายต่าง ๆ ให้เป็นที่ยอมรับ และจากผลงานนี้ท่านได้รับปริญญาเอกกิตติศักดิ์ (ทางการแพทย์) จากประเทศอังกฤษ และจากประเทศอเมริกา (ด้านวิทยาศาสตร์) และได้รับเหรียญรางวัลจากประธานาธิบดีออสเตรีย และเหรียญทองจากสมาคมพยาบาลออสเตรีย นอกจากนั้นท่านเป็นผู้หนึ่งที่ต่อต้านการขลิบอวัยวะเพศภายนอกของเด็กผู้หญิงอย่างเข้มแข็ง


 หลังจากเกษียณจากองค์การอนามัยโลก ดร.เฮิร์ชเฟลด์ และดร. เวกเนอร์ ได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ในเรื่องสิทธิมนุษยชน และร่วมมือกับพยาบาลของปาเลสไตน์ ดร.เวกเนอร์ ได้ทำงานกับองค์กรอิสระที่ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่จุดตรวจของกองทัพปาเลสไตน์อย่างเข้มแข็งมานาน จนได้รับรางวัลสิทธิมนุษยชน และรางวัลทางการพยาบาลจากศูนย์จริยธรรมทางการพยาบาลนานาชาติ มหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ ประเทศอังกฤษ เพื่อเป็นแบบอย่างของการทำงานที่สะท้อนปรัชญาที่สำคัญของการพยาบาลในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์โดยเฉพาะผู้ที่อ่อนแอ และด้อยโอกาส ดร.เฮิร์ชเฟลด์ได้รับการทาบทามจากวารสาร WHO – Israeli – Palestinian Bridge ซึ่งเป็นวารสารที่สร้างขึ้น เพื่อใช้ประเด็นทางสุขภาพเป็นสะพานเชื่อม 2 ประเทศไปสู่สันติภาพ โดยเป็นฉบับพิเศษที่ตีพิมพ์ เกี่ยวกับการพยาบาล จึงทำให้ท่านมีความสัมพันธภาพที่ดีกับสมาคมพยาบาลและผู้นำทางการพยาบาลของปาเลสไตน์ ดร.เฮิร์ชเฟลด์และ ดร.เวกเนอร์ ได้ช่วยพัฒนาหลักสูตรปริญญาเอก สาขาพยาบาลศาสตร์ ให้กับปาเลสไตน์ ตลอดจนช่วยสอนในด้านการวิจัย ทำให้พยาบาลปาเลสไตน์ได้เข้าไปมีส่วนร่วม ในการเสนอผลงานในการประชุมการวิจัยทางการพยาบาลที่เจรูซาเลม นอกจากนั้น ในการประชุมสภาการพยาบาลระหว่างประเทศ ที่เมลเบอร์น ในปี ค.ศ. 2013 ทั้ง 2 ท่าน ยังช่วยให้สมาคมพยาบาลปาเลสไตน์ ได้เข้าไปเป็นสมาชิกของสภาการพยาบาลระหว่างประเทศ โดยคำแนะนำของสมาคมพยาบาลอิสราเอล ซึ่งนับว่าเป็นองค์กรเดียวที่ปาเลสไตน์ได้เข้าไปเป็นสมาชิกในระดับนานาชาติที่อิสราเอลให้การต้อนรับ โดย ดร.เฮิร์ชเฟลด์ เป็นผู้สนับสนุน และชี้ให้เห็นว่า 2 องค์กรนี้เป็นตัวแทนของประชาชนที่แยกจากกันทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงแล้ว 2 ประเทศนี้ไม่ได้มีอาณาเขตแยกจากกัน


ดร.เวกเนอร์ และดร. เฮิร์ชเฟลด์ เป็นกรรมการอำนวยการประชุมของพยาบาลในตะวันออกกลาง และได้กำหนดแผนการประชุมประจำปี และการประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งพยาบาลปาเลสไตน์ และอิสราเอลได้ร่วมกันค้นหาปัญหา และแนวทางแก้ไข ซึ่งการทำงานเช่นนี้ทำให้ 2 ประเทศนี้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนทางด้านการฝึกอบรม และสามารถส่งต่อและติดตามเมื่อผู้ป่วยจากปาเลสไตน์มารับการรักษาที่โรงพยาบาลในอิสราเอล


 เมื่อเร็ว ๆ นี้ ดร.เวกเนอร์ และดร. เฮิร์ชเฟลด์ พยายามที่จะฝึกอบรมพยาบาลเฉพาะทางด้านการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ให้กับพยาบาลปาเลสไตน์ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิโรสสานนา และศูนย์การแพทย์ฮาดาช เนื่องจากเมื่อเกิดการสู้รบ ผู้ป่วยจะเกิดความยากลำบากมากในการมาโรงพยาบาล แต่ทั้ง 2 ท่าน ยังคงพยายามทำต่อไป ร่วมกับพยาบาลทั้งสองประเทศ ท่ามกลางความยากลำบากของสงคราม และในระหว่างการระบาดของโควิด 19  ที่มีการปิดเมือง ทั้ง 2 ท่าน ได้ร่วมกันจัดประชุมทาง webinar ให้กับพยาบาลทั้ง 2 ประเทศอย่างต่อเนื่อง


 ในฐานะที่ ดร.เวกเนอร์ และดร. เฮิร์ชเฟลด์ เป็นคณะกรรมการจริยธรรมได้ร่วมกันผลักดันการปกป้องสิทธิมนุษยชนหลายอย่างจนประสบความสำเร็จ และได้รับการตอบสนองอย่างดีจากแพทย์ เช่นแพทย์ได้เข้ามาให้การดูแลผู้อพยพที่อยู่ในค่ายที่ไม่มีสิทธิ์ในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผู้ที่อยู่ตามเขตชายแดน และในกาซาทุกสัปดาห์


 นับว่า ศาสตราจารย์ ดร.นูริท เวกเนอร์ และ ศาสตราจารย์ ดร.มิเรียม เฮิร์ชเฟลด์ ได้ร่วมกันทำงาน เพื่อช่วยปกป้องสิทธิมนุษยชน ให้เกิดความเป็นธรรมกับคนที่อ่อนแอในสังคม ให้มีโอกาสเข้าถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ และยังช่วยเหลือประสานความร่วมมือในการส่งเสริมจริยธรรม ความรู้ และความเข้าใจซึ่งกันและกันของพยาบาลอิสราเอล และปาเลสไตน์ เพื่อเป็นสะพานสู่สันติสุขในสองประเทศ คณะกรรมการนานาชาติพิจารณารางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จึงมีมติเห็นสมควรเสนอให้ ศาสตราจารย์ ดร.นูริท เวกเนอร์ และ ศาสตราจารย์ ดร.มิเรียม เฮิร์ชเฟลด์ เป็นผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประจำปีพุทธศักราช 2565 เป็นลำดับที่ 1  


 

   ศาสตราจารย์  ดร. เออร์ลินดา คาสโตร พาลากานัส


    Professor Dr. Erlinda Castro PALAGANAS


 ศาสตราจารย์  ดร. เออร์ลินดา คาสโตร พาลากานัส (Professor Dr. Erlinda Castro PALAGANAS) ชาวฟิลิปปินส์ อายุ 64 ปี เป็นผู้นำทางการพยาบาลที่มุ่งมั่น ทุ่มเท ในการพัฒนาวิชาการ การปฏิบัติ การวิจัย และวิชาชีพการพยาบาลให้เข้มแข็ง และเป็นผู้นำในการเรียกร้องความเท่าเทียมและเป็นธรรมให้กับพยาบาล และสวัสดิการและคุณภาพชีวิตให้กับชนเผ่า อย่างยาวนานนับสี่ทศวรรษจนถึงปัจจุบัน


ประวัติการศึกษา


ศาสตราจารย์ ดร. เออร์ลินดา ซี พาลากานัส สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ จากวิทยาลัยพยาบาล มหาวิทยาลัยของศูนย์การแพทย์รามอน แมกไซไซ ฝั่งตะวันออก ประเทศฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2522  ปริญญาโท สาขาสาธารณสุขศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2528  และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาพยาบาลศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย พ.ศ. 2538


 


ประวัติการทำงาน


ภายหลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเมื่อ 40 ปีมาแล้ว ในขณะนั้นพยาบาลฟิลิปปินส์นิยมไปทำงานต่างประเทศเป็นจำนวนมาก แต่ศาสตราจารย์ ดร. พาลากานัส เลือกที่จะเป็นพยาบาลชุมชนในทางตอนเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ โดยเริ่มต้นทำงานให้บริการสุขภาพประชาชนในชนบท และชนเผ่าในหุบเขาคากายัน และในภูมิภาคคอร์เดลเลอร์ลา นาน 6 ปี ก่อนก้าวสู่มหาวิทยาลัยในฐานะอาจารย์พยาบาล ทำงานวิชาการ วิจัย และงานบริหาร โดยยังคงทำงานส่งเสริมสุขภาพประชาชนในชนบท และชนเผ่า ท่านเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ 7 ปี มหาวิทยาลัย ฟิลิปปินส์ เมืองมะนิลา 6 ปี และมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ เมืองบาเกียว ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 จนถึงปัจจุบัน ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย ท่านได้สร้างผลงานวิชาการต่อเนื่อง จนได้เลื่อนตำแหน่งทางวิชาการเป็นลำดับ และได้รับแต่งตั้งเป็นนักวิจัยสาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2562-2563  ซึ่งในมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ มีผู้ดำรงตำแหน่งนักวิจัยสาขาพยาบาลศาสตร์เพียง 2 คน และได้รับตำแหน่งทางวิชาการเป็นศาสตราจารย์ ระดับ 12 ใน พ.ศ. 2563  ซึ่งมีเพียง 6% ของคณาจารย์ นอกจากงานวิชาการ ท่านยังดำรงตำแหน่งบริหารหลายตำแหน่งในมหาวิทยาลัย อาทิ เช่น รองประธานสหภาพอาจารย์ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการนักศึกษา ประธานสภาอาจารย์ ประธานกรรมการการศึกษาต่อเนื่อง ประธานแผนกการจัดการ เป็นต้น


 ผลงานด้านการศึกษา


ศาสตราจารย์ ดร. พาลากานัส ได้พัฒนาหลักสูตรพยาบาลที่เน้นชุมชนเป็นฐานให้กับคณะพยาบาลศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งต่อมาหลักสูตรนี้ ได้เป็นรูปแบบให้กับหลายสถาบันการศึกษา ท่านได้รับการชื่นชมจากนักศึกษาว่า เป็นอาจารย์ที่สอนในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอนวิชาภาคปฏิบัติได้อย่างยอดเยี่ยม ท่านลงมือปฏิบัติในการดูแลสุขภาพประชาชนโดยตรง และเป็นแบบอย่างในการแสดงบทบาทของการเป็นพยาบาลชุมชน และการทำงานร่วมกับชุมชน


 ผลงานด้านการพยาบาลชุมชนและบริการสุขภาพ


ศาสตราจารย์ ดร. พาลากานัส มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการให้บริการสุขภาพระดับ   ปฐมภูมิ และบทบาทพยาบาลชุมชน โดยมีการพัฒนาโปรแกรมสุขภาพที่เน้นชุมชน จัดทำโครงสร้างพื้นฐาน จัดหาทรัพยากรในการให้บริการสุขภาพชุมชน พัฒนาสมรรถนะของคนทำงานในหมู่บ้านและคนทำงานสุขภาพในชุมชน รวมทั้งเสริมสร้างพลังอำนาจให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเอง จนชนเผ่าบางกลุ่มมีความเป็นอิสระ ได้รับการศึกษาที่ดีขึ้น และเข้าถึงบริการสุขภาพได้ นอกจากการสร้างความตระหนักแก่ผู้กำหนดนโยบายและคนทำงานด้านสุขภาพในเรื่องปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อสุขภาพแล้ว ศาสตราจารย์ ดร.พาลากานัส ให้ความสำคัญในการปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการ    มีสุขภาพที่ดีของประชาชน ท่านเป็นผู้นำในการจัดทำคำร้อง การประชุมโต๊ะกลม และการประชุมแถลงข่าวกับสื่อมวลชน เพื่อต่อต้านเหมืองทองในการขุดหลุมเปิดและการขุดสกัด ระหว่าง พ.ศ. 2543 -2546 ท่านนำชาวบ้านร่วมเคลื่อนไหวเพื่อ “ดำรงรักษาแม่น้ำอะบรา” ที่ไหลผ่านสี่จังหวัด 47 เมือง และบ้านเรือนของชนเผ่ากว่า 1.6 ล้านคน ไม่ให้เหมืองทอง นำดินหินที่ขุดจากเหมืองมาทิ้งในแม่น้ำ ทำให้ท่านต้องเข้ารัฐสภา และพูดในเวทีต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ปัจจุบันมีการจำกัดปริมาณการทิ้งของเสียในแม่น้ำ และหลายประเทศยังคงสนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องแม่น้ำ


ผลงานด้านงานวิจัย


ศาสตราจารย์ ดร. พาลากานัส ได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิก และสร้างคุณค่างานวิจัยเชิงคุณภาพในสาขาพยาบาลศาสตร์ในประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งในช่วงแรก ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพไม่ได้การยอมรับว่า มีความเป็นวิทยาศาสตร์เทียบกับระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ท่านได้ใช้เวลาในการสร้างความเข้าใจ ปรับระเบียบวิธีให้ชัดเจน เข้าใจได้ จนเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ และมีการบรรจุกระบวนวิชาระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ในหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ทุกระดับ ปัจจุบันพยาบาลสามารถทำวิจัยเชิงคุณภาพจำนวนมากขึ้น ทำให้ได้ความรู้ความเข้าใจในประสบการณ์ ความรู้สึกนึกคิด ชีวิตความเป็นอยู่ และปัญหาเชิงลึก ซึ่งผลงานได้รับการเผยแพร่ และการตีพิมพ์ มากขึ้น นอกจากการจัดประชุมวิชาการ การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลแล้ว ศาสตราจารย์ ดร.พาลานัส ได้ก่อตั้งและดำรงตำแหน่งเป็นประธานผู้ก่อตั้งสมาคมวิจัยทางการพยาบาลของประเทศฟิลิปปินส์ ใน พ.ศ.2551 เป็นผลให้มีการจัดตั้งหน่วยวิจัยในสถาบันการศึกษาหลายแห่งทั่วประเทศ ในช่วง 12 ปี สมาคมจัดประชุมวิชาการวิจัยระดับชาติ 9 ครั้ง และนานาชาติ 3 ครั้ง นอกจากนี้ ท่านยังทำงานวิจัยกับสถาบันการศึกษาต่างประเทศ เช่น ศึกษาการย้ายถิ่นของพยาบาล กับมหาวิทยาลัยออตตาวา ประเทศคานาดา วิจัยเรื่อง ความยากจนของสตรี กับมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย เป็นต้น และท่านได้รับเชิญให้เป็นวิทยากร หรือนำเสนอผลงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศอยู่เป็นประจำ


  ศาสตราจารย์ ดร. พาลากานัส ได้รับการยอมรับจากบุคลากรในวิชาชีพการพยาบาล


สหวิชาชีพ และนานาชาติ ในความเป็นนักวิชาการและนักวิจัย ท่านดำรงตำแหน่งเป็นบรรณาธิการใหญ่ของวารสารการพยาบาลแห่งประเทศฟิลิปปินส์ นาน 13 ปี  ท่านได้ผลักดันให้วารสารเข้าเป็นดัชนีใน WHO-WPRIM, SCOPUS, EBSCO, และ CINAHL และนำวารสารเข้าหอเกียรติยศทางการพยาบาลของบรรณาธิการทางการพยาบาลของสถาบันนานาชาติ นอกจากนี้ ท่านยังยกระดับวิชาชีพการพยาบาล โดยเป็นพยาบาลนักวิจัยเพียงคนเดียว ที่มีตำแหน่งบริหาร ร่วมเป็นบรรณาธิการของวารสารของแพทยสมาคมแห่งฟิลิปปินส์ และวารสารของแพทยสมาคมแห่งเอเซียและแปซิฟิก เป็นต้น


 


ผลงานด้านวิชาชีพ


ศาสตราจารย์ ดร. พาลากานัส ได้ร่วมรณรงค์ในการเรียกร้องความเป็นธรรม และความเสมอภาคให้กับวิชาชีพ และในการทำงานให้กับพยาบาลอยู่เนือง ๆ โดยเฉพาะ เมื่อท่านดำรงตำแหน่งนายกสมาคมพยาบาลในระดับภูมิภาคคอร์เดลเลอร์ลา และสมาคมพยาบาลแห่งประเทศฟิลิปปินส์ ได้จัดทำเอกสารแสดงจุดยืนของกรรมการบริหาร และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อป้องกันการถูกเอารัด      เอาเปรียบในที่ทำงานของพยาบาล และประเด็นต่าง ๆ อาทิ การลดความเหลื่อมล้ำ การแบ่งแยก การมีสัดส่วนพยาบาลต่อผู้ป่วยที่เหมาะสม การจัดเวรอย่างสมเหตุผล การมีข้อบังคับเรื่องสิ่งแวดล้อมในการทำงานในสถานพยาบาลทุกระดับให้มีความปลอดภัยและเหมาะสม และการยกเลิกการห้ามพยาบาลไปทำงานต่างประเทศ เป็นต้น รวมทั้งนำพยาบาลทั่วประเทศร่วมเดินขบวนกับประชาชนประท้วงเกี่ยวกับบัญชีเงินเดือน เป็นผลให้พยาบาลประมาณ 20,000 คน ในภาครัฐได้รับการขึ้นเงินเดือนที่ชะลอมานาน เพิ่มขึ้น 43% และเมื่อมีข่าวข้อสอบรั่วในการสอบขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพการพยาบาล ซึ่งทำให้ความน่าเชื่อถือของวิชาชีพเสียหาย ท่านร่วมเป็นกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริง เป็นผลให้พยาบาลเข้าสอบใหม่ เป็นต้น


 


ในเดือนมีนาคม 2563 ที่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโควิด-19  ท่านได้จัดตั้งกลุ่ม ประกอบด้วยองค์กรพยาบาลต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของพยาบาลในการเผชิญกับโควิด-19 ท่านเชิญชวนพยาบาล และประชาชน จัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันตนเอง และอุปกรณ์จำเป็นในการทำงาน กลุ่มนี้เคยช่วยเหลือชุมชนเมื่อประเทศประสบพายุไต้ฝุ่นครั้งใหญ่สองครั้งในปลายปี 2563  


 ผลงานทางวิชาการ


ศาสตราจารย์ ดร. พาลากานัส ได้บูรณาการงานให้บริการสุขภาพในชุมชน งานวิจัย งานการเรียนการสอน งานเขียน และงานวิชาชีพ ทำให้งานต่าง ๆ มีความเชื่อมโยง และใช้ประโยชน์ร่วมกัน จากประสบการณ์ในการทำงานด้านการพยาบาลชุมชนในชนบท มีโอกาสดูแลสุขภาพของประชาชนในชนบทและชนเผ่าในพื้นที่ ทำให้ท่านเข้าใจวัฒนธรรม ความเชื่อ วิถีชีวิต และประเด็นสุขภาพของชนเผ่า เห็นความลำบากในการดำรงชีวิต และปัญหาสุขภาพที่ต้องการความช่วยเหลือ ท่านได้ทำวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และผสมผสานทั้งสองวิธี เพื่อแสดงถึงความต้องการด้านสุขภาพของชนเผ่า และคนทำงานด้านสุขภาพ โดยบูรณาการการปฏิบัติแบบพื้นบ้าน และวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ท่านได้นำขัอมูลที่สั่งสมจากประสบการณ์การทำงาน และงานวิจัยเขียนบทความ หนังสือ คู่มือ และทำวิจัยต่อเนื่อง อาทิ เขียนหนังสือเรื่อง “การพัฒนางานสุขภาพชุมชนในประเทศฟิลิปปินส์ มุมมองของพยาบาลชุมชน” ร่วมกับสหวิชาชีพ เขียนหนังสือเรื่อง “เรื่องการบูรณาการความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของชนเผ่า” โดยเป็นผู้เขียนหลัก ตลอดจนมีการทำงานวิจัย มิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพชุมชน เพศสภาวะ เช่น “ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติ บนฐานคิดเพศภาวะ” เพื่อเป็นแนวทางในการจัดบริการสุขภาพทั้งในระดับภูมิภาค และระดับประเทศ เขียนคู่มือการฝึกอบรมให้กรมการแพทย์ เรื่อง “บูรณาการมุมมองและสิทธิด้านเพศสภาวะในการให้บริการสุขภาพในชนบท” เขียนบทในหนังสือ เช่น “การดูแลข้ามวัฒนธรรมของชนเผ่าในคอร์เดลเลอร์ลา” เป็นต้น


 


รางวัลที่ได้รับ


ด้วย ดร. พาลากานัส มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ จึงได้รับรางวัลต่าง ๆ อาทิ อาจารย์ดูแลและให้คำปรึกษาด้านวิจัยสุขภาพที่ดีที่สุด อาจารย์ดีเด่น ศิษย์เก่าดีเด่นด้านการเป็นผู้นำ นักการศึกษาและนักวิจัย ศิษย์เก่าดีเด่นด้านการพยาบาล ศิษย์เก่าดีเด่นด้านการให้บริการชุมชน เป็นต้น


 นับว่า ศาสตราจารย์ ดร. เออร์ลินดา คาสโตร พาลากานัส เป็นผู้นำด้านวิชาการ การปฏิบัติ การวิจัย และการพัฒนาวิชาชีพ โดยเฉพาะการพัฒนานโยบายและแนวทางการให้บริการสุขภาพชุมชนในระดับปฐมภูมิสำหรับชนเผ่า ตลอดจนการพัฒนาพยาบาล และวิชาชีพการพยาบาลให้มีความเข้มแข็ง เท่าเทียม และเป็นสากล คณะกรรมการนานาชาติพิจารณารางวัลสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี จึงมีมติเห็นสมควรเสนอให้ ศาสตราจารย์ ดร. เออร์ลินดา คาสโตร พาลากานัส เป็นผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประจำปีพุทธศักราช 2564 เป็นลำดับที่ 1 


 

ประวัตินางสาวแฟดวา อาเมด อัฟฟารา (Miss Fadwa Ahmed AFFARA)นางสาวแฟดวา อาเมด อัฟฟารา (Fadwa Ahmed AFFARA) ชาวเยเมน-สก็อตแลนด์ อายุ 77 ปี เป็นผู้นำเชิงนโยบายและนักวิชาการที่สร้างแรงบันดาลใจ และมุ่งมั่นในการสนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลาง และประเทศในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก มีการจัดทำข้อบังคับวิชาชีพการพยาบาล จัดการศึกษาพยาบาลในระดับปริญญาตรี พัฒนาแนวคิดการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง และพัฒนาวิชาชีพการพยาบาลให้มีความเข้มแข็ง และมีความเป็นสากล


 การศึกษานางสาวแฟดวา อัฟฟารา สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ด้านจิตวิทยา และสัตววิทยา มหาวิทยาลัยเอดินเบอระ สก็อตแลนด์ (พ.ศ. 2507) ประกาศนียบัตรการพยาบาล รอยัล อิน เฟอมารี เอดินเบอระ สก๊อตแลนด์ (พ.ศ. 2509) ประกาศนียบัตรผดุงครรภ์ โรงพยาบาลทั่วไปของนิว คาสเซิล อังกฤษ (พ.ศ. 2512) ประกาศนียบัตรการพยาบาลในหอผู้ป่วยหนัก รอยัล อินเฟอมารี เอ ดินเบอระ สก๊อตแลนด์ (พ.ศ.2515) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ด้านการศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยเอ ดินเบอระ สก็อตแลนด์ (พ.ศ. 2519) และประกาศนียบัตรด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา วิทยาเทคโนโลยีดันดี สก็อตแลนด์ (พ.ศ. 2521)การทำงานนางสาวแฟดวา อัฟฟารา  เริ่มต้นทำงานเป็นพยาบาลประจำการของรอยัล อินเฟอมารี เอดินเบอระ สก๊อตแลนด์ (1 ปี) เป็นครู ที่โรงพยาบาลฝรั่งเศส นาซาเรท (2 ปี) พยาบาลประจำการที่หน่วยผู้ป่วยหนักและหัวใจ ที่วิกตอเรีย อินเฟอมารี กล๊าสโกว์ สก็อตแลนด์ (2 ปี) พ.ศ. 2519 ขึ้น ทะเบียนเป็นครูสอนในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยเทคโนโลยีดันดี สก็อตแลนด์ (4 ปี) ต่อมารักษาการในตำแหน่งหัวหน้าแผนกการพยาบาล วิทยาลัยสุขภาพ บาห์เรน (2 ปี) และขึ้นเป็น หัวหน้าแผนกอีก 5 ปี ในปี พ.ศ  2530-2533  นางสาวแฟดวา ได้เริ่มทำงานกับสภาการพยาบาล ระหว่างประเทศ (International Council of Nurses - ICN) เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ใน ตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการข้อบังคับของวิชาชีพการพยาบาล และ พ.ศ. 2534-2544 เป็นที่ปรึกษา ด้านนโยบายสุขภาพและการพยาบาล สภาการพยาบาลระหว่างประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 ถึงปัจจุบัน ท่านทำงานอิสระรับเป็นทปรึกษาด้านการพยาบาล ให้กับองค์กรระดับชาติและนานาชาติ ผลงานด้านการพัฒนาการศึกษาในระหว่าง พ.ศ. 2523-2530 ขณะที่ นางสาวแฟดวา อัฟฟารา ดำรงตำแหน่งผู้บริหารแผนก การพยาบาล วิทยาลัยสุขภาพ ประเทศบาห์เรน ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่เปิดใหม่ และมีคณาจารย์ หลายเชื้อชาติ ท่านได้ริเริ่มให้มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นสมรรถนะ (competency based) ได้ ต่อรองกับรัฐบาลให้ผู้สำเร็จการศึกษาได้รับค่าตอบแทนเทียบเท่ากับผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาชีพ อื่นที่มีการศึกษาระดับเดียวกัน วางแผนให้ผู้เรียนสามารถเข้าเรียนในหลักสูตรการพยาบาลในระดับ ปริญญาตรีได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านการเรียนในหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล และประกาศนียบัตร พยาบาล มีการปรับหลักสูตรผดุงครรรภ์ หลักสูตรสุขภาพจิต และหลักสูตรการพยาบาลชุมชน ซึ่ง ประเทศเพื่อนบ้านยังไม่ได้เปิดสอนหลักสูตรเหล่านี้ ผลจากการยกระดับและพัฒนามาตรฐาน การศึกษาและค่าตอบแทนทำให้สาขาการพยาบาลที่เดิมมีคนนิยมน้อยกลายเป็นสาขาที่มีผู้นิยมมาก ขึ้น และมีผู้สนใจสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรสาขาการพยาบาลจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากขณะที่นางสาวแฟดวา อัฟฟารา ทำงานที่สภาการพยาบาลระหว่างประเทศ ท่านยังคงช่วย พัฒนาการศึกษาพยาบาลของประเทศบาห์เรนอย่างต่อเนื่อง และมีการเตรียมผู้บริหารทางการ พยาบาลของประเทศให้สามารถบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาแบบใหม่นี้ได้ ภายหลังเกษียณจาก สภาการพยาบาลระหว่างประเทศ ท่านยังคงทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยในการพัฒนาการศึกษา พยาบาลของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก รวมทั้งการช่วยประเทศในการจัด การศึกษา แบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (transformative education) เพื่อสอดรับกับการ เปลี่ยนแปลงของระบบสุขภาพ


 ผลงานด้านการพัฒนาวิชาชีพเมื่อนางสาวแฟดวา อัฟฟารา เริ่มทำงานที่สภาการพยาบาลระหว่างประเทศ ท่านมีบทบาท อย่างสำคัญในการให้ข้อมูลและประเด็นทางการพยาบาลกับกลุ่มพยาบาล ผู้กำหนดนโยบายด้าน สาธารณสุข และสังคม ท่านรณรงค์ให้มีการพัฒนาข้อบังคับวิชาชีพ หรือพระราชบัญญัติ และ สนับสนุนประเทศสมาชิกของสภาพยาบาลระหว่างประเทศในการนำแนวคิด นโยบาย และแนวทาง ต่าง ๆ ดำเนินการ โดยมีการทำงานร่วมกับองค์การอนามัยโลก องค์กรของสหประชาชาติ มูลนิธิ แหล่งทุน นักวิชาการ นักวิจัย และอื่น ๆ ที่ทำงานด้านสุขภาพ และการพยาบาลทั้งในระดับโลก ภูมิภาค และประเทศ เพื่อช่วยสนับสนุนการพัฒนาการพยาบาลให้สอดคล้องกับความต้องการและ บริบทของประเทศนั้น ๆ


  นางสาวแฟดวา อัฟฟารา ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับองค์การอนามัยโลกในการผลักดัน ประเด็นหรือนโยบายทางการพยาบาล หรือสนับสนุนการให้องค์กรพยาบาลในระดับประเทศ นำ ข้อตกลงจากการประชุมสมัชชาของประเทศสมาชิกขององค์การอนามัยโลก ที่มีผลกระทบสำคัญต่อ พยาบาล และหรือสุขภาพของประชาชน/ไปสู่การจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการ ใน ระดับประเทศ เช่น เมื่อองค์การอนามัยโลกมีนโยบายเรื่อง การสาธารณสุขมูลฐาน เพื่อการมีสุขภาพดี ถ้วนหน้า ท่านเล็งเห็นว่า เพื่อให้พยาบาลปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีการเตรียมสมรรถนะ ให้พร้อม จึงดำริให้มีการจัดทำชุดการเรียนการสอน และวิธีการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนอย่างมี ส่วนร่วม การค้นหาปัญหา และการร่วมกันเสนอแนวทางการจัดการปัญหา ภายหลังการฝึกอบรม พบว่าชุดการเรียนการสอนที่จัดทำขึ้น และวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ มีประสิทธิภาพในการ สร้างสมรรถนะที่จำเป็นของพยาบาลสำหรับการทำงานตามแนวคิดการสาธารณสุขมูลฐาน เป็นต้น


 ขณะที่ นางสาวแฟดวา อัฟฟารา ดำรงตำแหน่งเป็นประธานโครงการจัดทำข้อบังคับวิชาชีพ ของสภาการพยาบาลระหว่างประเทศ ท่านสนับสนุนสมาคมพยาบาลในประเทศต่าง ๆ ให้ศึกษาความ ต้องการของประเทศในการออกข้อบังคับหรือกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกัน อันตรายที่อาจเกิดได้กับประชาชน และจัดทำรายงานผลการศึกษาเป็นชุด ๆ รายงานนี้ได้รับคำชมว่า เป็นรายงานการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายวิชาชีพที่ดี จากผลการศึกษาท่านได้พัฒนาเป็นหลักสูตร สำหรับผู้นำทางการพยาบาลให้มีความรู้ ความเข้าใจถึงความสำคัญของกฎหมายวิชาชี พ แนวคิด กระบวนการการพัฒนา และการนำไปใช้ ซึ่งทำให้พยาบาลมีส่วนร่วมมากขึ้นในกระบวนการการทำ ข้อบังคับ การกำหนดขอบเขตการปฏิบัติงาน มาตรฐาน และสมรรถนะ โดยหลักสูตรนี้ ยังคงมีการจัด


 ให้กับหลายประเทศจนถึงทุกวันนี้ ต่อมาท่านได้ร่วมในการจัดเวทีให้ผู้เกี่ยวข้องกับข้อบังคับวิชาชีพ ได้มาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ และการสร้างเครือข่ายของผู้ทำงานด้านข้อบังคับวิชาชีพ ท่านได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง From Principle to Power : A Model of Global Change in Nursing Regulation ใน พ.ศ. 2532 นอกจากนี้ท่าน และดร.มาร์เกร็ต สไตส์ (Dr. Margaret Styles) ตีพิมพ์ หนังสือเรื่อง Nursing Regulation Guidebook: From Principle to Power (พ.ศ. 2535) และ ICN On Regulation:  Towards 21st  Century Models (พ.ศ. 2541) เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับข้อบังคับ วิชาชีพการพยาบาล


 นางสาวแฟดวา  อัฟฟารา  ได้ร่วมกับนักวิชาการจากหลายสถาบันทำโครงการหมวดหมู่การ ปฏิบัติการพยาบาลระดับนานาชาติ (International Classification of Nursing Practice -ICNP) ให้ มีคำศัพท์ทางการพยาบาลที่เป็นสากล จัดว่าเป็นผลงานที่สำคัญของวิชาชีพการพยาบาลที่ได้รับการ ยอมรับจากองค์การอนามัยโลก และประเทศต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง งานนี้สะท้อนให้เห็นความ สำคัญของวิชาชีพการพยาบาล บทบาทและหน้าที่ของพยาบาล ที่เป็นเอกลักษณ์และผลลัพธ์ทางการ พยาบาลที่สามารถวัด และประเมินได้ ICNP ยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และได้มีการแปลเป็น ภาษาต่าง ๆ ถึง 17ภาษา


 ด้วยความก้าวหน้าของการปฏิบัติการพยาบาลทำให้มีพยาบาลเวชปฏิบัติ หรือการ ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (Nurse Practitioner - NP/Advanced Practice Nurse -  APN) ใน พ.ศ. 2543 สภาการพยาบาลระหว่างประเทศได้ให้นางสาวแฟดวา อัฟฟารา รับผิดชอบในการสร้าง เครือข่ายของพยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง มีการกำหนดขอบเขตการปฏิบัติงานและสมรรถนะ ของพยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ท่าน และ ดร.มาเดรียน โชเดอร์ (Dr. Madrean Schobe) ได้ เขียนหนังสือเรื่อง The Family Nurse: Frameworks for Practice ใน พ.ศ. 2544 และหนังสือเรื่อง การปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (Advanced Practice Nurse) ใน พ.ศ. 2549 เพื่อนำเสนอแนวคิด และ ประเด็นของการพัฒนาบทบาทของการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง และเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน ความรู้ และประสบการณ์ระหว่างพยาบาลในประเทศต่าง ๆ ท่านได้ริเริ่มจัดประชุมวิชาการของ เครือข่ายของพยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงทุกสองปี


 ด้วยตระหนักว่าพยาบาล และบุคลากรสุขภาพที่ปฏิบัติงานในที่ห่างไกล หรือในค่ายผู้อพยพ ขาดโอกาสที่จะเข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ และข้อมูลทางสุขภาพที่จำเป็น นางสาวแฟดวา อัฟฟารา ได้ ร่วมกับสำนักพิมพ์ จัดทำโครงการห้องสมุดเคลื่อนที่ (ICN Mobile Library) ใน พ.ศ. 2544 ห้องสมุด เริ่มจากหนังสือภาษาอังกฤษ จำนวน 80 ชื่อเรื่อง ต่อมามีหนังสือในภาษาฝรั่งเศส และโปรตุเกสปัจจุบัน มีห้องสมุดเคลื่อนที่กว่า 300 แห่ง ใน 17 ประเทศในแอฟริกา พยาบาลหลายคนดีใจว่า ห้องสมุดดังกล่าว ทำให้พวกเธอรู้สึกว่าไม่ได้ทำงานในความมืดอีกต่อไปภายหลังเกษียณอายุ จากสภาการพยาบาลระหว่างประเทศ นางสาวแฟดวา อัฟฟารา ได้ทำงานเป็นที่ปรึกษาระยะสั้นแก่ประเทศสมาชิกขององค์การอนามัยโลก ในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ บาห์เรน อียิปต์ อิหร่าน อิรัค จอร์แดน คูเวต เลบานอน โอมาน  ปากีสถาน  กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย ซูดาน ซีเรีย ตูนิเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเยเมน งานของท่านส่วนใหญ่ เป็นงาน เกี่ยวกับการให้คำแนะนำ การพัฒนาสมรรถนะ และสนับสนุนวิชาการในด้านต่าง ๆ ของการพยาบาล และผดุงครรภ์ ได้แก่ ข้อบังคับวิชาชีพ การศึกษา  แผนกลยุทธ์และการพัฒนานโยบาย การทำ โครงสร้างความก้าวหน้าของอาชีพ และการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง นอกจากนี้ท่านยังเข้าร่วม และ ดำเนินการประชุมหารือในระดับภูมิภาคในประเด็นการศึกษาระดับปริญญาตรี การพยาบาลเฉพาะ ทาง และการพัฒนากรอบกลยุทธ์สำหรับการพยาบาลและผดุงครรภ์ขององค์การอนามัยโลกภูมิภาค เมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก พ.ศ. 2559-2568


 นอกจากนี้ในช่วงการระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ทั่วโลก นางสาวแฟดวา อัฟฟารา ได้ร่วมเป็นกรรมการผู้ก่อตั้งเครือข่ายการทำงานของแอฟริกาเรื่องโควิด-19 สำหรับพยาบาล และผดุงครรภ์ (the COVID-19 Africa Action Network for Nurses and Midwives) ประกอบด้วย กรรมการมาจากสหสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อสนับสนุนการทำงานของพยาบาลและผดุงครรภ์ใน การต่อสู้กับการระบาดของโควิด โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อสนับสนุนให้พยาบาลและผดุงครรภ์สามารถ เข้าถึงคู่มือการปฏิบัติงาน หลักสูตรอบรม โดยผ่านเครือข่ายการศึกษาต่อเนื่องของโลก (World Continuing Educational Alliance) เข้าถึงแหล่งในการจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันตนเอง (Personal Protective Equipment-PPE) และแสวงหาแหล่งเงินเพื่อช่วยเหลือการทำงานขององค์กรพยาบาล และสภาการพยาบาลของประเทศทั่วโลก รางวัลที่ได้รับ นาวสาวแฟดวา อัฟฟาราได้รับ President’s Award จากศูนย์การรับรองพยาบาลอเมริกัน ในฐานะที่เป็นผู้นำในเรื่องกฎหมายวิชาชีพ เมื่อ พ.ศ. 2550


 

Recent Posts