วันที่ 10 ตุลาคม 2567 มูลนิธิรางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในพระบรมราชูปถัมภ์ รางวัลมอบแก่ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล และ/หรือ การผดุงครรภ์วิชาชีพจากทุกประเทศทั่วโลกที่มีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติ
ประวัติและผลงานของผู้สมควรได้รับการพิจารณาเป็นผู้รับพระราชทานรางวัล ผู้สมควรได้รับการพิจารณาล าดับ 1 ศาสตราจารย์ ดร.แครอไลน์ ซูซาน เอลิซาเบธ โฮเมอร์ Professor Dr. Caroline Susan Elizabeth HOMER จากเครือรัฐออสเตรเลีย
ศาสตราจารย์ ดร. แครอไลน์ ซูซาน เอลิซาเบธ โฮเมอร์ อายุ 59 ปี ชาวออสเตรเลีย เป็นนักวิชาการ และนักวิจัยชั้นนำระดับโลกในเรื่องสุขภาพและการให้บริการมารดาและทารก ซึ่งผลงานวิจัยได้สร้างผลกระทบในวงกว้าง ทั้งการถูกอ้างอิงนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายขององค์กร ในหลายประเทศ และกำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการผดุงครรภ์ไว้มากมาย ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่าย และช่วยรักษาชีวิตของมารดา และทารกได้นับล้านคนต่อปี
การศึกษา ศาสตราจารย์ ดร.แครอไลน์ ซูซาน เอลิซาเบธ โฮเมอร์ ได้รับประกาศนียบัตรการพยาบาล จากโรงพยาบาลรอยัล บริสเบน (พ.ศ. 2529) ประกาศนียบัตรผดุงครรภ์ จากโรงพยาบาลสำหรับสตรี เมืองซิดนีย์ (พ.ศ. 2533) ปริญญาโท สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ (พ.ศ. 2540) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พ.ศ. 2544) และ ประกาศนียบัตรบัณฑิต ด้านการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา (พ.ศ. 2545) จากมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย และปริญญาโทด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาระบาดวิทยาคลินิก (พ.ศ. 2551) จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
การทำงาน ปัจจุบัน ดร.โฮเมอร์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ (Emeritus Distinguished Professor) สาขาการผดุงครรภ์ คณะสุขภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2561 เป็นศาสตราจารย์อาวุโสกิตติมศักดิ์ (Honorary Professorial Fellow) สมาชิกของโรงเรียนประชากรและสุขภาพโลก คณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทย์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น (ตั้งแต่ พ.ศ. 2561) เป็นศาสตราจารย์วุฒิคุณ (Adjunct Professor) โรงเรียนสาธารณสุขและเวชศาสตร์ป้องกัน มหาวิทยาลัยโมนาช เมลเบิร์น (ตั้งแต่ พ.ศ. 2561) รวมทั้งเป็นศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ (Honorary Professor) สมาชิกขอโรงเรียนพยาบาลและผดุงครรภ์ 2 มหาวิทยาลัยดีกิน (Deakin) (ตั้งแต่ พ.ศ. 2562) เป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะหรือรับเชิญไปสอนที่มหาวิทยาลัยในประเทศ สหราชอาณาจักร เช่น โรงเรียนพยาบาลและผดุงครรภ์ฟลอเรนช์ไนติงเกล วิทยาลัยคิงลอนดอน (ตั้งแต่ พ.ศ. 2552) และมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟที่เวลล์ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2558)
นอกจากการเป็นอาจารย์และนักวิจัย ศาสตรจารย์ ดร. แครอไลน์ ซูซาน เอลิซาเบธโฮเมอร์ เคยเป็นผู้อำนวยการศูนย์ผดุงครรภ์สุขภาพเด็กและครอบครัว คณะสุขภาพ และรองคณบดีด้านการพัฒนาและสร้างความผูกพันกับนานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์ ผู้ช่วยเลขาธิการเครือช่ายโลกของศูนย์ประสานงานการพยาบาลและผดุงครรภ์ขององค์การอนามัยโลก รองผู้อำนวยการ Equity, Diversity and Inclusion และหัวหน้า(ร่วม)โครงการสุขภาพสตรีและทารกแรกเกิดของโลก ของสถาบัน Burnet ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ท่านได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการ หรือสมาชิกของหน่วยงานมูลนิธิและคณะกรรมการที่สำคัญระดับประเทศและนานาชาติ อาทิ ประธานวิทยาลัย ผดุงครรภ์ของออสเตรเลีย (พ.ศ. 2556 - 2560) ประธานคณะที่ปรึกษากลยุทธ์และวิชาการด้านสุขภาพแม่ เด็ก และวัยรุ่น และโภชนาการขององค์การอนามัยโลก (พ.ศ. 2563); Elected Fellow Australia Academy of Health and Medical Sciences; และเป็นสมาชิกของกลุ่มที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคนิค ขององค์การอนามัยโลกสำหรับโครงการพิเศษด้านการวิจัยของ UNDP/UNFPA/UNICEF/WHO/World Bank เพื่อการพัฒนาและฝึกอบรมวิจัยด้านอนามัยเจริญพันธุ์ในมนุษย์ (พ.ศ. 2563 - 2565) ประธานกรรมการวิจัยทางสุขภาพและการแพทย์แห่งชาติ (พ.ศ. 2564 - 2566) รองประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาวิจัยทางการแพทย์ของออสเตรเลีย สำหรับทุนการวิจัยในอนาคตทางการแพทย์ (พ.ศ. 2564 – 2566) และปัจจุบันเป็นกรรมการที่ปรึกษา Franklin Women (ตั้งแต่พ.ศ. 2567) และกรรมการที่ปรึกษา Catherine Hamlin Fistula Foundation (ตั้งแต่พ.ศ. 2565)
ผลงานด้านการพัฒนางานวิจัย นโยบายและการศึกษา ศาสตราจารย์ ดร. แครอไชร์ เอลิซาเบธ โฮเมอร์ ทำงานวิจัยมานานกว่า 20 ปีแล้ว โดยมุ่งเน้นการค้นหาช่องว่างของความรู้ ประโยชน์ ความเสี่ยง ผลกระทบ และความเป็นไปได้ของการให้บริการสุขภาพ ดูแลโดยผดุงครรภ์โดยทำการศึกษาวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผลการวิจัยของท่านอย่างยาวนาน ชี้ให้เห็นว่าการดูแลที่ดีของผดุงครรภ์จะช่วยชีวิตเป็นประโยชน์สำหรับผู้หญิงและทารกแรกเกิด โดยเฉพาะถ้าผดุงครรภ์ดูแลอย่างต่อเนื่องครบวงจร ตั้งแต่ตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และการเกิดของทารกจนถึงภายหลังคลอด ผลการวิจัยต่างๆของท่านได้รับการยอมรับโดยรัฐบาลผู้กำหนดนโยบายและนักวิชาการทั่วโลก และได้นำไปเป็นคำแนะนำคู่มือหรือแนวปฏิบัติ และหนังสือสำหรับการจัดทำนโยบายและกลยุทธ์ การฝึกอบรมผดุงครรภ์และการให้บริการด้านการผดุงครรภ์ทั่วโลก งานวิจัยของท่านชี้ให้เห็นว่าด้วยประสิทธิภาพและคุณภาพของการให้บริการด้านผดุงครรภ์จะช่วยชีวิตมารดาและทารกได้ปีละ 2 ล้านคน งานวิจัยของศาสตราจารย์ ดร.แครอไลน์ ซูซาน เอลิซาเบธ โฮเมอร์ ที่เน้นโปรแกรมการดูแลอย่างต่อเนื่องโดย ผดุงครรภ์ มีการนำไปใช้ในโรงพยาบาลกว่า 50 แห่งในประเทศออสเตรเลีย และท่านได้เขียนหนังสือกว่า 15 บทที่มีการนำไปใช้ในสถาบันการศึกษาผดุงครรภ์ของประเทศ และสร้างเครื่องมือเพื่อประเมินค่าใช้จ่าย ด้วยการนำของท่าน ท่านและทีมได้เขียนเอกสารจุดยืนเรื่องรูปแบบของการดูแลของผดุงครรภ์ ซึ่งเอกสารได้รับการรับรองในการประชุมสมัชชาอนามัยโลก ที่จัดโดยองค์การอนามัยโลก เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา นอกจากนี้งานวิจัยของท่านนำไปสู่การกำหนดเป็นนโยบายในหลายรัฐของประเทศออสเตรเลีย และการจัดทำแนวปฏิบัติที่องค์การอนามัยโลกและ UNFPA มีการพิมพ์เผยแพร่ทั่วโลก และข้อมูลจากงานวิจัยถูกนำไปอ้างในรายงานสถานการณ์โลกของผดุงครรภ์ที่จัดทำโดย UNFPA องค์การอนามัยโลกและสมาพันธ์ผดุงครรภ์โลก ใน พ.ศ. 2561 และ 2564 ปัจจุบันท่านทำงานร่วมกับ UNFPA ในการพัฒนาผดุงครรภ์ในประเทศที่มีรายได้น้อยและปาน กลางในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกกว่า 20 ประเทศ รวมทั้งเป็นผู้นำกลุ่มที่ปรึกษาการวิจัยผดุงครรภ์ของ ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก การที่ท่านเป็นผู้นำด้านการวิจัย และมีวิสัยทัศน์ในงานวิจัย ทำให้ท่านได้รับทุนวิจัยกว่า 14 ล้านดอลล่าร์สหรัฐจากหน่วยงานวิจัยแห่งชาติ และมูลนิธิต่าง ๆ ผลงานวิจัยได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ใน วารสารที่มีการตรวจสอบคุณภาพกว่า 340 เรื่อง และบทความโดยมากกว่า 100 เรื่องตีพิมพ์ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งในวารสารในประเทศและต่างประเทศ อาทิ The Lancet, British Journal of Obstetrics and Gynaecology, Midwifery, Birth, Journal of Hypertension, Clinical Endocrinolohy, The Journal of Perinatal Education, Journal of Clinical Nursing เพื่อให้งานวิจัยเข้มแข็งท่านมีการกำหนดนโยบายด้านการวิจัย จัดทำหลักสูตรเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิจัยให้ นักวิจัยรุ่นใหม่ทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมทั้งของประเทศไทยด้วย กว่า 50 คน และทำงานร่วมกับองค์การอนามัยโลก UNFPA และนักวิจัยทางผดุงครรภ์ของประเทศต่างๆ ทั้งในด้านวิจัยและ การขับเคลื่อนรูปแบบการให้ดูแลด้านผดุงครรภ์อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ท่านยังทำงานกับรัฐบาล กระทรวงสาธารณสุข และผู้กำหนดนโยบายของประเทศต่างๆ เพื่อนำผลการวิจัยสู่นโยบายและการปฏิบัติ
รางวัล ด้วยความโดดเด่นทางวิชาการและงานวิจัย ทำให้ท่านได้รับรางวัลจำนวนมาก อาทิ Frank Fenner จาก สถาบัน Burnet, Elizabeth Blackburn Investigator Grant Award ในการเป็นผู้ได้รับทุนสูงสุดสำหรับสตรีที่ในระบบบริการสุขภาพ (พ.ศ. 2566) ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักวิจัยชั้นนำด้านการตั้งครรภ์ และการคลอดระดับโลกที่บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำ 20 ฉบับใน 5 ปีที่ผ่านมา มีการอ้างอิงสูงสุดโดยนิตยสารวิจัยของออสเตรเลีย (พ.ศ. 2563 2565 2526) และงานวิจัยทั้งหมดได้รับการอ้างอิง ถึง 11,052 ครั้ง โดย 8,346 บทความ และ H- index 51 (29 กรกฎาคม 4 2567) ท่านได้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของ Royal Australian and New Zealand College of Obstetricians and Gynecologist ซึ่งเป็นผดุงครรภ์คนเดียวของออสเตรเลียที่ได้รับเกียรตินี้ (พ.ศ. 2565) ได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ใน 100 ผู้นำการพยาบาลและการผดุงครรภ์ยอดเยี่ยม โดยองค์การอนามัยโลก UNFPA, ICN, Nursing Now, ICM & Women in Global Health (พ.ศ. 2563) ได้เหรียญจากโรงพยาบาลสตรีของออสเตรเลีย (พ.ศ. 2562) เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออสเตรเลียเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระราชินี (พ.ศ. 2560) วิทยาลัยผดุงครรภ์ของออสเตรเลียจัดตั้งรางวัลการเขียนและตีพิมพ์ในชื่อของท่านด้วยท่านมีผลงานการเขียนและตีพิมพ์ในวงกว้าง (พ.ศ. 2556) รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์ (พ.ศ. 2555) และรางวัลการพัฒนาวิจัยดีเด่นของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์ (พ.ศ. 2554) และรางวัลการเรียนการสอนยอดเยี่ยม (พ.ศ. 2553) นับว่าศาสตราจารย์ ดรแครอไลน์ ซูซาน อาลิซาเบธ โฮเมอร์ เป็นผู้นำการวิจัยทางด้านการผดุงครรภ์เป็นที่ ประจักษ์ในระดับโลก และผลงานได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตและสุขภาพของมารดา ทารก และ เด็ก เป็นอย่างมาก คณะกรรมการนานาชาติพิจารณารางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จึงมีมติเห็นสมควรเสนอให้เป็นผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประจำปีพุทธศักราช 2567 เป็นลำดับที่ 1
#ข้อมูลโดยสภาการพยาบาล รางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี