หน้าแรก   |   ข่าวสารพยาบาล

สมาคมพยาบาลนมแม่ประเทศไทย ร่วมกับ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดประชุมวิชาการและประชุมใหญ่สามัญประจำปี พ.ศ. 2567

จำนวนผู้เข้าชม : 425 ครั้ง


วันที่ 24 กรกฎาคม 2567 สมาคมพยาบาลนมแม่ประเทศไทย ร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานประชุมวิชาการ หัวข้อ “Closing the gap: breastfeeding support for all: "เหลียวหลังแลหน้าสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน”


โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.เอมพร รตินธร คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้เกียรติขึ้นกล่าวเปิดการประชุม  รองศาสตราจารย์ ดร.ศศิกานต์กาละ อุปนายกและประธานฝ่ายวิชาการ สมาคมพยาบาลนมแม่ประเทศไทย กล่าวรายงานการประชุมที่มีการจัดขึ้นในระหว่าง วันที่ 24-26 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร

ด้านรองศาสตราจารย์ กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์ นายกสมาคมพยาบาลนมแม่ประเทศไทย ได้ให้เกียรติขึ้นกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม และมอบโล่รางวัล “Lactation Nurse the Idol” ประจำปี พ.ศ.2567 ให้ผู้ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติในครั้งนี้ 

ภายในงานยังมีการเสวนา  ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมเสวนา หัวข้อ"การสื่อสารนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืน" คือ นพสุรัตน์ ผิวสว่าง ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ รองหัวหน้ากลุ่มอนามัยแม่และเด็ก  ศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ นายกสภาการพยาบาล  และ นพ.ธีรวีร์  วีรวรรณ ผู้อำนวยการกองสร้างเสริมสุขภาพ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานค เป็นผู้อภิปราย  โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สง่า ดามาพงศ์ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย

นพ. สุรัตน์ ผิวสว่าง ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ รองหัวหน้ากลุ่มอนามัยแม่และเด็ก ได้กล่าวถึงโครงการมหัศจรรย์ 1000 วันแรกของชีวิตที่ผ่านมา  ได้ขับเคลื่อนโครงการเพื่อให้เด็กแรกเกิดกินนมแม่อย่างเดียว  ต้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือน  เป้าหมายคือการพัฒนาทารกตั้งแต่ที่อยู่ในครรภ์มารดาจนคลอด  และเจริญเติบโตอายุครบ 2 ปีบริบูรณ์  ได้มีการผลักดันให้เกิดการทำงานอย่างเป็นทีม การทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่าย 180 วัน  แม้กระนั้น ผลยังไม่ถึงเป้าหมายที่ไทยและทั่วโลกกำหนดไว้  คือ ต้องมีเด็กไทยอย่างน้อยร้อยละ 50 ได้กินนมแม่  จากผลการสำรวจ พบว่า มีปัจจัยและสาเหตุสำคัญหลาย ๆ ปัจจัย ยกตัวอย่าง เช่น ในกรณีแม่ต้องกลับไปทำงาน สิทธิการลาคลอดของแม่สามารถลาได้เพียง 98 วัน (ประมาณ 3 เดือน) เกิดความไม่ต่อเนื่องสำหรับลูกกินนมแม่ได้ 6 เดือนตั้งแต่แรกเกิด  จึงมีความจำเป็นต้องขับเคลื่อนอย่างเคร่งคัด เพื่อให้ลูกได้กินนมแม่ตั้งแต่ 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด  ตลอดจนช่วงอายุให้ครบ 6 เดือนแรก และให้กินนมแม่อย่างต่อเนื่องพร้อมควบคู่กับอาหารตามวัย จนถึงอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น เพื่อสุขภาพคุณภาพของเด็กที่กำลังเติบโตในสังคมไทย

ด้านรองศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ  นายกสภาการพยาบาล กล่าวว่า ตามนโยบายองค์การอนามัยโลก แม่ควรให้นมลูกกินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องภูมิคุ้มกันโรค หรือปฏิกิริยาระหว่างแม่กับลูกที่ส่งผลต่อองค์ประกอบในน้ำนม  ในส่วนของสภาการพยาบาล  ได้มีการสนับสนุนให้ความรู้และเพิ่มหลักสูตรศึกษาเแพาะทางของพยาบาลวิชาชีพละผดุงครรภ์  หลักสูตรเฉพาะทางที่เปิดสอน หลักสูตรระดับปริญญาตรี เช่น ด้านมารดาและทารก พยาบาลนมแม่  หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องนอกจากการรับรองเมื่อจบหลักสูตรนี้ ยังได้รับหน่วยคะแนนศึกษาต่อเนื่อง CNEU 50 คะแนนด้วย  นอกเหนือจากนี้ได้เปิดหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก เช่นกัน

ด้านนพ.ธีรวีร์ วีรวรรณ ผู้อำนวยการกองสร้างเสริมสุขภาพ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร  ได้กล่าวถึงความเชื่อมั่นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลงนั้น มีสาเหตุจากกรณีที่แม่เชื่อว่าน้ำนมตนเองมีไม่เพียงพอ และไม่มีความรู้เพียงพอในการฝึกลูกเข้าเต้า เกิดการใช้ยา NCD ในกรณีที่แม่ป่วยและตั้งครรภ์ก่อนคลอดหลังคลอดต้องให้นมบุตร  ขาดสวัสดิการในหน่วยงานที่ต้องกลับไปทำงานเมื่อครบกำหนดลา (98 วัน) มีห้องให้นมลูกในที่ทำงานแม่ไม่มากพอ  สำหรับการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ กองสร้างเสริมสุขภาพ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เปิดศูนย์เสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่คู่นมแม่ ศูนย์นมแม่  ศูนย์พัฒนาเด็กพิเศษศูนย์ของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการให้คำปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการฝึกอบรมแม่จิตรอาสาในชุมชน พร้อมสนับสนุนให้งบประมาณกับแผนการดำเนินงานการกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีโครงการให้ความรู้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนเพื่อเสริมสร้างการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพที่สำคัญ และในวันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2567 นี้ แพทย์หญิงสาวิตรี สุวิกรม หัวหน้ากลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรมโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษา ร่วมบรรยาย ห้วข้อ Closing the gap ให้กับผู้เข้าประชุมครั้งนี้ด้วย

ในภาคบ่ายของ วันที่ 24 กรกฎาคม 2567 ยังมีการเสวนา เรื่อง Gap Analysis: Trends & Issues for Breastfeeding ซึ่งได้รับเกียรติจากแพทย์หญิงยุพยง แห่งเชาวนิช ศาสตราจารย์ ดร.สุสัณหา ยิ้มแย้ม ที่ปรึกษาสมาคมพยาบาลนมแม่ประเทศไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิธารา น่วมภา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้อภิปราย ดำเนินการอภิปรายโดย: รองศาสตราจารย์ ดร.ศศิกานต์กาละ

ช่องการอภิปราย ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงยุพยง แห่งเชาวนิช ได้กล่าวถึง การขับเคลื่อนความเข้าใจในเรื่อง พ.ร.บ.ควบคุมการสื่อสารที่ผิดว่า เราจะได้ยินบ่อยครั้งว่า "นมแม่ที่ดีสุด" เมื่อแม่ที่ไม่สามารถให้นมลูกเองได้มักจะหันไปพึ่งนมผง จำเป็นต้องเพิ่มความเข้าใจกับแม่ว่านมแม่ดีนั้นเพราะนมแม่เป็นแหล่งอาหารและพลังงานที่สำคัญของลูก ให้ภูมิคุ้มกันโรค ลดความเสี่ยงโรคอ้วน และก็มีศักยภาพช่วยพัฒนาไอคิวเด็กเมื่อโตขึ้น ฯลฯ จึงเป็นเรื่องยากมากที่จะผลิตนมจากห้องทดลองขึ้นมาเลียนแบบ   


พ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมตลาดอาหารสำหรับทารกแรกเกิด นี้ไม่ได้หมายความว่าห้ามขายนมผง เพียงแต่ห้ามโฆษณาและส่งเสริมการตลาดเท่านั้น ดังนั้น เด็กที่จำเป็นต้องใช้นมผงจริงๆก็จะสามารถหาซื้อได้ตามปกติ  ซึ่งแพทย์และบุคลากร สาธารณสุข ควรเป็นผู้ที่ให้ข้อมูลเหล่านี้ หากแม่และครอบครัวไม่สามารถให้นมแม่ได้ หรือตัดสินใจแล้วว่าจะให้ลูกกินนมผง แพทย์และบุคลากรก็จะแนะน้าวิธีใช้นมผงอย่างถูกต้องให้  ไม่ต้องกลัวว่าแม่จะไปเลือกซื้อสินค้าอื่น ที่ไม่เหมาะสมกับแม่และเด็ก

Recent Posts