หน้าแรก   |   ข่าวสารพยาบาล

นักวิชการสาธารณะสุขขึ้นเวทีอภิปรายขับเคลื่อนระบบสุขภาพปฐมภูมิชุมชนจากบริบทการถ่ายโอน รพ.สต. มุ่งอภิบาลระบบสุขภาพท้องถิ่น สู่สังคมสุขภาพดี

จำนวนผู้เข้าชม : 292 ครั้ง


วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทราและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ : ดร.กมลรัตน์ เทอร์เนอร์ คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก  ดร.แสงดาว จันทร์ดา  คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก จังหวัดขอนแก่น และ ดร.ปิ่นนเรศ กาศอุดม นายกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ฯ สาขาภาคเหนือ และผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก จังหวัดแพร่ ผู้ร่วมให้ความเห็นหลัก ในเวทีอภิปรายเสนอเชิงนโยบาย  หัวข้อ “การพัฒนานวตกรรมบทเรียนและข้อเสนอการต่อยอดนำเสนอผลการศึกษา”

 

และพญ.สุพัตรา ศรีวณิชชากร นายกสมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป / เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา ผู้ทรงคุณวุฒิ  อดีตเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) ดร.ณัฐพันธ์  ศุภกา รักษาการผู้อำนวยการสำนักวิชาการและนวัตกรรม  สสส. ร่วมให้เกียรติเป็นผู้ให้ความเห็นหลัก

โดยมี ผศ.วีรบูรณ์ วิสารทสกุล คณบดีวิทยาลัยพัฒนศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผู้นำเสนอผลการศึกษา  พร้องทั้งให้ผู้ร่วมฟังแสดงความคิดเห็นข้อเสนอแนะ  ยกตัวอย่างนวัตกรรมที่มีอยู่ในชุมชนที่ตนอาศัย สร้างบรรยากาศในห้องอภิปรายและได้รับความร่วมมือจากผู้เข้าร่วมฟังการอภิปรายเป็นอย่างดี 

เวทีการอภิปรายครั้งนี้ ผู้ร่วมอภิปรายมีการหยิบยกประเด็นข้อคิดเห็นต่างๆ ที่สำคัญๆ นวัตกรรมสังคมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  หนึ่งในหลายประด็นที่สำคัญ มีจัยความพอเป็นสังเขปได้ว่า นวัตกรรมสังคมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม social innovation research การทำความเข้าใจพื้นที่ของ social innovation กระบวนการที่เพิ่มมากขึ้น สร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมนั้นเป็นอย่างไร  และมีการให้ความสำคัญอย่างไรกับภารกิจที่ค่อนข้างยากสำหรับการวิจัยในส่วนของการทำงานเชิงประสาน การกระจายอำนาจแก่สาธารณสุขในท้องถิ่นมีสุขภาพที่ดี เเละความเป็นอยู่ที่ดี ของผู้ที่อยู่ในโครงการการถ่ายโอนหน่วยบริการปฐมภูมิไปยังหน่วยท้องถิ่น ทั้งนี้ได้มีการร่างหลักเกณฑ์ขั้นตอนการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขประจำตำบลไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ในด้านรัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์นัยยะนี้มองว่า  การกระทำดังกล่าวเป็นการกระจายอำนาจแต่อาจไม่ช่วยเก้ไขความเหลื่อมล้ำได้ในทันที  เพราะการถ่ายโอนดังกล่าวต้องมีระบบที่เอื้อต่อท้องถิ่น และได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน  ซึ่งโดยทั่วไปมักคิดเกี่ยวกับการบริหารกำลังคนให้เต็มที่  แต่ลืมคำนึงถึงความเหมาะสมและกำลังในการทำงานของบุคลากร และการมีข้อจำกัดการเริ่มต้นการจัดการระบบมาใช้แต่ละพื้นที่นั้นต้องต่างกัน เพราะพื้นฐานต่าง ๆ ของแต่ละพื้นที่สามารถรองรับระบบได้ต่างกัน

การจัดเวทีอภิปรายครั้งนี้ เกิดขึ้นการจัดประชุมระดมความคิดจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทยและเครือข่ายทั่วประเทศจำนวน 30 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทราและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ  เป้าหมายเพื่อเป็นพื้นที่เสนองานวิจัยสรุปแลกเปลี่ยนด้านวิชาการจากปฏิบัติการพื้นที่สู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย ได้รับความร่วมมือร่วมนำเสนอนวัตกรรมและผลการศึกษาวิจัยการขับเคลื่อนระบบสุขภาพปฐมภูมิโดยชุมชนและท้องถิ่นจากบริบทการถ่ายโอน รพ.สต. เพื่อนำความคิดเห็นทิศทางการกระจายอำนาจด้านสุขภาพสู่ท้องถิ่น   สรุปและเสนอรัฐบาลให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง  สามารถจัดระบบบริการสุขภาพตอบสนองต่อปัญหาของประชาชนในพื้นที่ได้ย่างมีประสิทธิภาพ


 

Recent Posts